วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

La formule de politesse

การทักทายกันแบบฝรั่งเศส

การทักทายกันทั่วไป
Bonjour บง ชูร์ แปลว่า สวัสดี
bonne nuit บอนนุย แปลว่า ราตรีสวัส
bon soir บงซัวร์ แปลว่าสวัสดีตอนเย็น
bon apres-midi บอน นัพเคร-มิดิ แปลว่า สวัสดีตอนกลางวัน
enchante อองชองเต แปลว่า ยินดีที่ได้รู้จัก
comment allez-vous? กอมมอง ตาเล วู? แปลว่า เป็นอย่างไรบ้าง?
tu vas bien? ตุ๊ วา เบียง? แปลว่า คุณสบายดีไหม?
bien, merci เบียง แมร์ซี่ แปลว่า สบายดี, ขอบคุณ

การทักทายกันในโอกาสพิเศษต่างๆ
ภาษาฝรั่งเศสน่ารู้ขอเสนอคำอวยพร หรือคำที่แสดงความปรารถนาดี ( Les souhaits ) ที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆดังนี้
Bonne Année ( บอนนานเน่ )แปลว่าสวัสดีปีใหม่

Joyeux Noël ( ชัวเยอ โนแอล )แปลว่า สุขสันต์วันคริสต์มาส

Joyeux Anniversaire ( ชัวเยอซานิแวร์แซร์ )แปลว่า สุขสันต์วันเกิด
Bienvenue ( เบียงเวอนู )แปลว่า ยินดีต้อนรับ 
Bon courage ( บง กูราช ) แปลว่่า ขอให้มีกำลังใจในการทำงาน

Bonne chance ( บอน ชองส์ ) แปลว่า ขอให้โชคดี / ประสบความสำเร็จ

Bon appétit ( บอนนาเปตี )แปลว่า ขอให้เจริญอาหาร
Bon voyage ( บง วัวยาช ) ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

Bonne journée ( บอน ชูร์เน่ ) แปลว่า ขอให้สนุกสนานในช่วงกลางวันนี้

Bonne soirée ( บอน ซัวเร่ )แปลว่า ขอให้สนุกสนานในช่วงค่ำคืนนี้

Bonnes vacances ( บอน วาก็องส์ )แปลว่า ขอให้สนุกสนานช่วงปิดภาคเรียน
Bonne nuit ( บอน นุย ) แปลว่า ราตรีสวัสดิ์

Fais de beaux rêves ( แฟ เดอ โบ แรฟ ) แปลว่าหลับฝันดี

Bonne santé ( บอน ซองเต้ )แปลว่า ขอให้มีสุขภาพดี
คำขอโทษภาษาฝรั่งเศส
suis desole (เฌอ ซุย เดโซเล) แปลว่าขอโทษ
Pardon (ปาร์ดง) แปลว่าขอโทษ
je m'excuse (เฌอ เม็กกูซ) แปลว่าขอโทษ
je m'excuse de vous deranger (เฌอ เม็กกูซ เดอ วูส์ เดรองเช่) แปลว่า แปลว่าขอโทษ
ก่อนที่จะถามเรื่องบางอย่าง ควรใช้สำนวน Excusez - Moi (เอ็กกูเซ - มัว) ตรงกับคำภาษาอังกฤษ excuse - me ครับ

การรับการของโทษ ก็มีหลายสำนวนเช่น
Ce n'est rien (เซอ เน เรียง) แปลว่าขอโทษIl n'y a pas de quoi (อิล นี ยา ปา เดอ กัว) แปลว่าขอโทษ
je vous en prie (เฌอ วูส์ ซง พรี) แปลว่าขอโทษ
ภาษารัก ภาษาฝรั่งเศสJe vous aime beaucou.(เฌอ วู แซม โบกู) แปลว่าฉันรักคุณมาก

แบบภาษาชาวบ้านนะ คือ 
Je t'aime (เฌอแตม)
ฉันรักเธอ

และอีกสำนวนที่แปลว่าคิดถึง
Je pense beaucoup a toi (เฌอ ปองส์ โบกู อา ตัว)
 แปลว่า ฉันคิดถึงเธอมากนะ สามารถใช้ได้กะทุกคนนะ 
และอีกสำนวนนะสุดโรแมนติกเลย คือ

Je t'aime a l'infini (เฌอ แตม อา แลงฟีนี) แปลว่า ฉันรักเธอตลอดกาลหรือรักเธอชั่วนิรันด์

วันพุธที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2557

Château de Chambord

พระราชวังช็องบอร์


พระราชวังช็องบอร์ (ฝรั่งเศสChâteau de Chambord) เป็นวังที่ตั้งอยู่ที่บนฝั่งแม่น้ำลัวร์ในช็องบอร์ในจังหวัดลัวเรแชร์ ประเทศฝรั่งเศส พระราชวังช็องบอร์เป็นวังที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดวังหนึ่งในโลกจากลักษณะสถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยาที่เป็นเอกลักษณ์ของสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะผสานระหว่างการก่อสร้างแบบยุคกลางของฝรั่งเศสกับสถาปัตยกรรมคลาสสิกของอิตาลี[1]
พระราชวังช็องบอร์สร้างโดยพระเจ้าฟร็องซัวที่ 1 แห่งฝรั่งเศสสำหรับเป็นที่ประทับที่ตั้งอยู่ไม่ไกลจากโกลด โรอ็อง พระสนมเคาน์เทสส์แห่งตูรี ภรรยาของฌูว์เลียง เคานต์แห่งแกลร์มง ซึ่งเป็นตระกูลสำคัญตระกูลหนึ่งของฝรั่งเศส ที่พำนักอยู่ที่วังมุยด์ที่ตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ตราอาร์มของโคลดใช้ตกแต่งพระราชวัง
ช็องบอร์เป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาวังต่าง ๆ ในลุ่มแม่น้ำลัวร์ แต่เดิมเป็นเพียงตำหนักล่าสัตว์ของพระเจ้าฟร็องซัว ผู้ทรงมีที่ประทับอยู่ที่พระราชวังบลัวและพระราชวังอ็องบวซ กล่าวกันว่าช็องบอร์เดิมออกแบบโดยโดเมนีโก ดา กอร์โตนา ผู้ที่มีจำลองไม้ที่มีอายุยืนพอที่จะให้อ็องเดร เฟลีเบียงวาดในคริสต์ศตวรรษที่ 16 แต่นักเขียนบางท่านกล่าวว่าผู้มีส่วนสำคัญในการออกแบบคือสถาปนิกยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาชาวฝรั่งเศสฟีลีแบร์ เดอลอร์ม ในระยะยี่สิบปีของการก่อสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1519 และ ค.ศ. 1547 โครงสร้างช็องบอร์ก็เปลี่ยนไปจากที่ออกแบบไว้เป็นอันมาก โดยมี Pierre Nepveu เป็นผู้ควบคุมดูแลการก่อสร้าง ในปี ค.ศ. 1913 มาร์แซล แรมงเสนอว่า เลโอนาร์โด ดา วินชี ผู้เป็นแขกของพระเจ้าฟร็องซัวที่ Clos Lucé ไม่ไกลจากอ็องบวซเป็นผู้มีส่วนในการออกแบบ ที่สะท้อนให้เห็นในแผนสำหรับวังโรโมรองแตงที่ดา วินชีเตรียมสำหรับพระราชมารดาของพระเจ้าฟร็องซัว และความสนใจในการออกแบบลักษณะการก่อสร้างแบบช็องบอร์ และบันไดกลางที่เป็นบันไดเวียนสองวงซ้อน แต่ข้อเสนอนี้ก็ยังไม่เป็นที่เห็นพ้องกันโดยทั่วไป[6] เมื่อสร้างใกล้เสร็จ พระเจ้าฟร็องซัวก็ทรงเป็นเจ้าภาพจัดงานเพื่อแสดงความโอ่อ่าของพระราชวัง ต่อคู่อริเก่าสมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

Musique de la France

ลามาร์แซแยซ

ลามาร์แซแยซ (ฝรั่งเศสLa Marseillaise, "เพลงแห่งเมืองมาร์แซย์") เป็นชื่อของเพลงชาติสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ประพันธ์คำร้องและทำนองโดย โกลด โฌแซ็ฟ รูเฌ เดอ ลีล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2335 ที่เมืองสทราซบูร์ในแคว้นอาลซัส เดิมเพลงนี้มีชื่อว่า "Chant de guerre de l'Armée du Rhin" (แปลว่า "เพลงมาร์ชกองทัพลุ่มน้ำไรน์") เดอลีลได้อุทิศเพลงนี้ให้แก่นายทหารชาวแคว้นบาวาเรีย (อยู่ในประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) ซึ่งเกิดในประเทศฝรั่งเศสผู้หนึ่ง คือจอมพลนีกอลา ลุคเนอร์ (Nicolas Luckner) เมื่อกองทหารจากเมืองมาร์แซย์ได้ขับร้องเพลงนี้ขณะเดินแถวทหารเข้ามายังกรุงปารีส ทำให้เพลงนี้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และกลายเป็นเพลงปลุกใจในการร่วมปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งยังเป็นที่มาของชื่อเพลงลามาร์แซแยซดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันด้วย
สมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศสได้ออกประกาศรับรองให้เพลงลามาร์แซแยซเป็นเพลงชาติฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2338 ต่อมาเพลงนี้ได้ถูกงดใช้ในช่วงรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1แห่งจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 และ พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และมีการนำเพลงอื่นมาใช้เป็นเพลงชาติฝรั่งเศสแทนในระยะเวลาดังกล่าวแทน โดยรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 1 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Veillons au Salut de l'Empire และ โดยรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ใช้เพลงชาติที่ชื่อว่า Le Retour des Princes Français à Paris หลังการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2373 เพลงนี้ก็ได้กลับมาใช้เป็นเพลงชาติในระยะสั้น ๆ แต่ก็งดใช้อีกครั้งในสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ตราบจนกระทั่งฝรั่งเศสเข้าสู่สมัยสาธารณรัฐที่ 3 เพลงนี้จึงได้รับการรับรองให้เป็นเพลงชาติอย่างถาวรเมื่อ พ.ศ. 2422

เนื้อเพลง

Allons enfants de la Patrie
Le jour de gloire est arrivé
Contre nous de la tyrannie
L'étendard sanglant est levé {2x}
Entendez vous dans les campagnes
Mugir ces féroces soldats
Ils viennent jusque dans vos bras,
Egorger vos fils, vos compagnes

{Refrain:}
Aux armes citoyens ! Formez vos bataillons !
Marchons, marchons,
Qu'un sang impur abreuve nos sillons

Que veut cette horde d'esclaves
De traîtres, de Rois conjurés ?
Pour qui ces ignobles entraves,
Ces fers dès longtemps préparés ? {2x}
Français ! pour nous, ah ! quel outrage !
Quels transports il doit exciter !
C'est nous qu'on ose méditer
De rendre à l'antique esclavage !

{au Refrain}

Quoi ! des cohortes étrangères
Feraient la loi dans nos foyers ?
Quoi ! ces phalanges mercenaires
Terrasseraient nos fiers guerriers {2x}
Grand Dieu ! par des mains enchaînées
Nos fronts sous le joug se ploieraient,
De vils despotes deviendraient
Les maîtres de nos destinées ?

{au Refrain}

Tremblez, tyrans ! et vous, perfides,
L'opprobe de tous les partis,
Tremblez ! vos projets parricides
Vont enfin recevoir leur prix {2x}.
Tout est soldat pour vous combattre,
S'ils tombent, nos jeunes héros,
La terre en produit de nouveaux
Contre vous tous prêts à se battre

{au Refrain}

Français ! en guerriers magnanimes
Portez ou retenez vos coups.
Epargnez ces tristes victimes
A regret s'armant contre nous {2x}.
Mais le despote sanguinaire,
Mais les complices de Bouillé,
Tous ces tigres qui sans pitié
Déchirent le sein de leur mère

{au Refrain}

Amour sacré de la Patrie
Conduis, soutiens nos bras vengeurs !
Liberté, Liberté chérie !
Combats avec tes défenseurs {2x}.
Sous nos drapeaux, que la victoire
Accoure à tes mâles accents,
Que tes ennemis expirant
Voient ton triomphe et notre gloire !

{au Refrain}

Nous entrerons dans la carrière,
Quand nos aînés n'y seront plus
Nous y trouverons leur poussière
Et les traces de leurs vertus. {2x}
Bien moins jaloux de leur survivre
Que de partager leur cercueil,
Nous aurons le sublime orgueil
De les venger ou de les suivre !

{au Refrain}

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

La Fête Nationale





         วันชาติฝรั่งเศสตรงกับวันที่ 14 กรกฎาคมของทุกปี ซึ่งถือเป็นวันแห่งการปฎิวัติการปกครองจากระบบเจ้าขุนมูลนายไปสู่การปกครองในระบอบสาธารณรัฐ โดยประชาชนทั่วทั้งประเทศได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านการปกครองแบบยุกโบราณจนกระทั้งได้รับชัยชนะเป็นครั้งแรกจากบุกเข้าทลายคุกบาสติลที่เปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของการกดขี่ประชาชน เมื่อ 209 ปีก่อนและนำไปสู่การล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้สำเร็จ โดยสมัชชาแห่งชาติได้กำหนดโครงสร้างกฏหมายฉบับใหม่ที่ยกเลิกการให้ความมีเอกสิทธิ์ ขจัดเรื่องสินบนและล้มเลิกระบบฟิวดัล(ระบบศักดินา) จากนั้นต่อมาจึงมีการจัดงานฉลองแห่งชาติขึ้นเรียกว่า “The Feast of the Federation” เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีของเหตุการณ์จลาจลที่กองกำลังแห่งชาติจากทั่วประเทศได้เดินทางรวมพลกันที่ “Champs-de-Mars” ในกรุงปารีส

        แต่พอหลังจากนั้นการจัดงานฉลองเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ของวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ.2332 ก็ต้องหยุดไปเนื่องจากสถานการณ์ภายในประเทศยังคงไม่สงบเกิดสงครามปฏิวัติขึ้นหลายครั้งในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ.2335-2345 และมาในสมัย “the Third Republic*”นี้เอง รัฐบาลจึงได้มีความคิดที่จะรื้อฟื้นการจัดงานเฉลิมฉลองวันชาติฝรั่งเศสขึ้นมาใหม่ โดยมีการผ่านร่างกฎหมายฉบับเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2423 ขึ้นมา ซึ่งกำหนดให้วันที่ 14 กรกฎาคม ของทุกปีเป็น “วันชาติฝรั่งเศส”และได้จัดงานเฉลิมฉลองครั้งแรกขึ้นในปีเดียวกันนั้น

       ทั้งนี้งานจะเริ่มตั้งแต่ค่ำของวันที่ 13 โดยจะมีการแห่คบเพลิงและล่วงเข้าวันรุ่งขึ้นเมื่อระฆังตามโบสถ์วิหารต่าง ๆ หรือเสียงปืนดังขึ้นนั่นเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่างานฉลองได้เริ่มต้นขึ้นแล้วอย่างเป็นทางการ เริ่มจากริ้วขบวนการสวนสนามของเหล่าทัพ จากนั้นเมื่อถึงช่วงเวลากลางวันประชาชนจะร่วมฉลองด้วยการเต้นรำอย่างรื่นเริงสนุกสนานไปตามท้องถนนและมีการจัดเลี้ยงกันอย่างเอิกเกริกจนถึงเวลาค่ำ ซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการจุดพลและการละเล่นดอกไม้ไฟที่ถือประเพณีปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งสร้างความบันเทิงอื่น ๆ อีกมากมายที่จัดขึ้นทั่วประเทศทั้งการจัดการแข่งขันกีฬา การจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้า โดยไม่มีชาวฝรั่งเศสคนใดจะละเลยไม่นึกถึงและร่วมฉลองในวันสำคัญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศครั้งนี้

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

Stade de France


สตาดเดอฟร็องส์

    
       สตาดเดอฟร็องส์ (ฝรั่งเศสStade de France) เป็นสนามกีฬาแห่งชาติของฝรั่งเศส ตั้งอยู่ในเทศบาลแซ็งเดอนี ตอนเหนือของกรุงปารีส เป็นสนามกีฬาที่นั่งล้วนจำนวน 80,000 ทำให้เป็นสนามกีฬาที่ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของยูโรป โดยใช้ในการแข่งขันระหว่างประเทศทั้งของฟุตบอลทีมชาติฝรั่งเศสและรักบี้ทีมชาติฝรั่งเศส สนามกีฬาแห่งนี้เป็นสนามกีฬาประเภทที่ 4 จัดโดยยูฟ่า สนามแห่งนี้ใช้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลก 1998 และในบางนัดของรักบี้เวิลด์คัป 1999, การแข่งขันกรีฑาชิงแชมป์โลก 2003 และรักบี้เวิลด์คัป 2007

วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

Jardin à la française

สวนฝรั่งเศส
          
         สวนฝรั่งเศส ช่วงปี ค.ศ 1650-1750 นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากสวนแบบอิตาเลียน เมื่อครั้งพระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศสทรงมีชัยเหนือดินแดนอิตาลีค่ะ สวนฝรั่งเศสจึงรับเอารูปแบบการจัดสวนมาใช้ ซึ่งก็คือการนำเอาประติมากรรมต่าง ๆ มาประดับประดาในสวน เช่น เทพปกรณัมตามตำนานตะวันตก รูปสัตว์ต่าง ๆ ในเทพนิยาย หรือรูปสลักใบหน้าคน เป็นต้น
          สวนฝรั่งเศส มีการจัดสวนที่มีระเบียบแบบแผน ตกแต่งพันธุ์ไม้ให้เป็นลวดลายเรขาคณิต โดยออกแบบให้เห็นเส้นแกน (Axis) ที่ทอดยาวไปจนสุดสายตา มีการกำหนดสัดส่วนในเชิงคณิตศาสตร์เพื่อให้ได้ทัศนียภาพที่สวยงาม เช่น การกำหนดทิศทางการมองเห็นภูมิทัศน์ภายนอกจากตัวอาคารในระยะต่าง ๆ กัน นิยมสร้างความรู้สึกเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายในและภายนอกอาคาร โดยใช้ลูกเล่นในการจัดการสวนให้ดูเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ภายในอาคาร เช่น การจัดสวนให้มีพื้นที่ปิดล้อมโดยแบ่งเป็นเรื่องราวต่าง ๆ ตามเทพนิยาย หรือเรื่องราวในวรรณกรรม เช่น สวน Jardin des Versailles ในพระราชวังแวร์ซายส์ ที่มีการตกแต่งและแบ่งสวนออกเป็นส่วนต่าง ๆ ประดับด้วยรูปปั้นของเทพต่าง ๆ ตามตำนานเทพนิยายกรีก อาทิ โพไซดอน เทพเจ้าแห่งท้องทะเล เป็นต้น


         ในสมัยโบราณสวนฝรั่งเศสไม่ได้เป็นเพียงแค่สวนธรรดา ๆ เท่านั้นค่ะ แต่สวนคือเครื่องแสดงฐานะทางสังคมและเป็นสิ่งที่แบ่งแยกชนชั้นอีกด้วย ประวัติความเป็นมาของการจัดสวนฝรั่งเศสมีมาอย่างยาวนาน และแต่ละยุคแต่ละสมัยก็จะมีพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงดังนี้
         สวนฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 17 สวนในยุคนี้ เน้นการจัดแบบผสมผสานและมีการควบคุมธรรมชาติให้อยู่ภายใต้แบบแผนที่กำหนด สวนจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อย ๆ ในสวนขนาดใหญ่ในรูปทรงเรขาคณิต โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 สิ่ง คือ กรงนก สัตว์ป่าที่หายาก และน้ำพุ การใช้องค์ประกอบทั้ง 3 ในสวนส่วนตัวของชนชั้นสูงก็เพื่อแสดงถึงความมั่งคั่งของผู้เป็นเจ้าของ และเพื่อสร้างความเบิกบานใจให้กับแขกที่มาเยี่ยมเยือน


           ล่วงมาถึงศตวรรษที่ 18 ได้เกิดสไตล์การแต่งสวนแนวใหม่ขึ้นที่ประเทศอังกฤษ สวนเริ่มได้รับความนิยมให้เป็นสถานที่พักผ่อนและเดินเล่นสำหรับชนชั้นกลางชาวฝรั่งเศส การจัดสวนจึงเน้นในเรื่องของการค้นหาและกลับไปสู่ธรรมชาติ  ลักษณะเด่นของสวนยุคนี้ก็คือ ทางเดินที่ทอดยาวและคดเคี้ยวไปมา รายล้อมด้วยสวนและทิวทัศน์ที่กว้างใหญ่หลายเอเคอร์ ทำให้ผู้มาเยือนรู้สึกเหมือนหลีกเร้นตัวเอง ได้เข้าไปอยู่ชนบทที่สงบเงียบ จะสังเกตได้ว่า รูปแบบของสวนฝรั่งเศสในศตวรรษที่ 18 ได้เปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง บรรยากาศของสวนที่มีเป็นระเบียบและมีรูปทรงเรขาคณิต ได้หายไป แต่เน้นการจัดสวนแบบธรรมชาติที่ให้ความรู้สึกที่ผ่อนคลายมากขึ้น
           ในศตวรรษที่ 19 สวนได้รับความนิยมถึงขีดสุดและได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชนชั้นกลางค่ะ ลักษณะของสวนได้เปลี่ยนแปลงไปจากช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18 ค่อนข้างมาก คือ จากที่เคยมีการวางผังอย่างเป็นระเบียบเพื่อสร้างสิ่งที่น่าสนใจให้ผู้ที่เข้ามาเดินเล่นในสวน และมีการสร้างรูปทรงธรรมชาติที่มีอิสระ ตกแต่งด้วยดอกไม้ต่าง ๆ ช่วงศตวรรษที่19 นักจัดสวนได้หันมาสนใจเรื่องการปลูกต้นไม้และพุ่มไม้แทน เพื่อสร้างความรู้สึก ของสวนที่เหมาะแก่การเดินเล่น ให้ความรู้สึกของการพักผ่อนและความสนุกสนานในการใช้ชีวิตประจำวัน นอกจากนี้แล้ว วงการแพทย์สมัยนั้น ยังตระหนักว่าการออกกำลังกายด้วยการเดินเล่นในสวนเป็นประจำจะส่งผลดีต่อสุขภาพ ทำให้ชนชั้นกลางและขนชั้นสูง นิยมใช้เวลาช่วงบ่ายด้วยการเดินเล่นในสวน จนกลายเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวฝรั่งเศส นอกจากการได้พักผ่อนหย่อนใจแล้ว สวนยังกลายเป็นที่พบปะและเข้าสังคมของชนชั้นกลาง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แบ่งแยกพวกเขาออกจากชนชั้นต่ำ และเพื่อให้เข้าใกล้ฐานะของชนชั้นสูงมากขึ้น
         ความนิยมสวนฝรั่งเศสในฐานะงานอดิเรกของชนชั้นกลางค่อย ๆ เพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ นับตั้งแต่ช่วงต้นศตวรรษที่ 17 จนถึงศตวรรษที่ 19 และ 20 ด้วยรูปแบบการจัดสวนที่หลากหลายสไตล์ นอกจากนี้แล้วการ จัดสวนแบบฝรั่งเศส ยังมีอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปะการจัดสวนในยุโรปช่วงศตวรรษที่ 17 และ 18

วันศุกร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2557

Place de la Concorde



ปลัสเดอลากงกอร์ด

       Construite par l'architecte de Louis XV, Gabriel, de 1755 à 1775, elle est de forme octogonale.
       Elle fût le lieu de grands évènements telle que l'exécution de Louis XVI.Avec l'obélisque au centre offert par le vice-roi d'Egypte à Charles X, ses statues et son étendue majestueuse, la Place de la Concorde est l'une des plus belles de Paris.
        Les colonnes rostrales de la place ont été rénovées en 1995. Voir ses perspectives magnifiques de la voie triomphale vers l'Arc de Triomphe et la Défense, vers le Grand Louvre.
Belle vue aussi vers la Madeleine et le Palais-Bourbon.

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

Écusson

ตราแผ่นดิน



ตราแผ่นดินของฝรั่งเศส ในปัจจุบันนี้เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2496 แม้ตราดังกล่าวจะไม่มีสถานะทางกฎหมายว่าเป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการเลยก็ตาม ดวงตรานี้เป็นตราที่ปรากฏการใช้ในปกหนังสือเดินทางของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีจุดกำเนิดจากการที่กระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศสกำหนดให้ใช้ตรานี้เป็นสัญลักษณ์สำหรับหน่วยงานทางการทูตของฝรั่งเศสนับตั้งแต่ พ.ศ. 2455 เป็นต้นมา ออกแบบโดยประติมากรชื่อ จูลส์-เคลมองต์ ชาแปล็ง (Jules-Clément Chaplain)
ในปี พ.ศ. 2496 องค์การสหประชาชาติได้ขอให้ประเทศฝรั่งเศสส่งสำเนาภาพตราแผ่นดินของตน เพื่อจัดแสดงร่วมกับภาพตราแผ่นดินของชาติสมาชิกอื่นๆ ในห้องประชุมขององค์การสหประชาชาติ คณะกรรมการร่วมที่รัฐบาลฝรั่งเศสแต่งตั้งในการนี้จึงให้โรแบรต์ หลุยส์ (Robert Louis) นักออกแบบตราสัญลักษณ์ ทำการเขียนตราทางการทูตข้างต้นขึ้นใหม่ตามแบบของตราเดิม อย่างไรก็ตาม ตรานี้รัฐบาลฝรั่งเศสก็ไม่ได้ออกกฎหมายรับรองให้ใช้เป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด
สัญลักษณ์ในตราดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลฝรั่งเศสได้กำหนดตราสัญลักษณ์ใหม่สำหรับรัฐบาลฝรั่งเศส ซึ่งได้รวมเอาคำขวัญของสาธารณรัฐ สีธงชาติ และรูปมารีแอนน์ ซึ่งเป็นรูปสัญลักษณ์เชิงบุคลาธิษฐานของสาธารณรัฐ (Republic's personification) เข้าไว้ด้วยกัน
ลำดับตราแผ่นดินสมัยต่าง
ภาพตราแผ่นดินคำอธิบายสมัยแห่งการใช้
Arms of the Kingdom of France (Ancien).svgFrance Ancien (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคโบราณ) ใช้ตราโล่พื้นสีน้ำเงินลายเฟลอร์เดอลีส์สีเหลืองไม่จำกัดจำนวนดอกก่อน พ.ศ. 1848
พ.ศ. 1871-1919
Arms of the Kingdom of France & Navarre (Ancien).svgFrance Moderne (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคโบราณ) ซีกซ้ายใช้ตราลักษณะคล้ายตราโล่เดิม และ ซีกขวาใช้ตราโล่แห่งนาวาร์ (ตราโซ่สีทองบนพื้นโล่สีแดง) ตราโล่แห่งนาวาร์นี้ มีที่มาจากพระเจ้าอองรีที่ 4พ.ศ. 1848-1871
Arms of the Kingdom of France (Moderne).svgFrance Moderne (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคใหม่) ใช้ตราลักษณะคล้ายตราโล่เดิม แต่ลดจำนวนเฟลอร์เดอลีส์ลงเหลือเพียง 3 ดอกเท่านั้นพ.ศ. 1919-2058
Coat of Arms of Kingdom of France.svgFrance Moderne (ตราของกษัตริย์ฝรั่งเศสยุคใหม่) ตราอาร์มสีน้ำเงิน ภายในมีดอกเฟลอร์เดอลีส์ 3 ดอก ภายใต้มงกุฎประกอบสายสร้อยเครื่องราชอิสริยาภรณ์พ.ศ. 2058-2132
Grand Royal Coat of Arms of France & Navarre.svgตราแผ่นดินราชอาณาจักรฝรั่งเศส แสดงภาพตราโล่แห่งนาวาร์ (ตราโซ่สีทองบนพื้นโล่สีแดง) อยู่เคียงกับตราเฟลอร์เดอลีส์สีเหลืองบนพื้นโล่สีน้ำเงิน ตราโล่แห่งนาวาร์นี้ มีที่มาจากพระเจ้าหลุยส์ที่ 10 และ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 ซึ่งเคยเป็นกษัตริย์แห่งแคว้นนาวาร์มาก่อนพ.ศ. 2132-2332
Emblem of Napoleon Bonaparte.svgตราประจำตัวของนโปเลียน โบนาปาร์ต แสดงภาพนกอินทรีพ.ศ. 2332-2347
Imperial Coat of Arms of France (1804-1815).svgตราแผ่นดินจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 1 แสดงภาพนกอินทรีพ.ศ. 2347-2357
Grand Royal Coat of Arms of France.svgตราแผ่นดินฝรั่งเศส ยุคราชวงศ์บูร์บงฟื้นฟู ประกอบเข้ากับรูปมงกุฎแห่งบูร์บงที่ส่วนบนสุดของตรา ปัจจุบันยังคงใช้เป็นตราของเชื้อสายกษัตริย์ฝรั่งเศสราชวงศ์บูร์บง (สายตรง)พ.ศ. 2357-2373
Coat of Arms of the July Monarchy (1831-48).svgตราแผ่นดินฝรั่งเศสยุคกษัตริย์เดือนกรกฎาคม ใช้ตราประจำพระองค์พระเจ้าหลุยส์-ฟิลิปป์พ.ศ. 2373-2391
Coat of Arms Second French Empire (1852–1870).svgตราแผ่นดินจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ใช้ภาพนกอินทรีเช่นเดียวกับยุคจักรวรรดิที่ 1พ.ศ. 2395-2413
Francecoatofarms1898-2.pngตราแผ่นดินอย่างไม่เป็นทางการ ของสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ลักษณะเป็นตราขวานมัดหวาย (fasces) มีอักษรย่อ "RF" ในช่อใบลอเรลและกิ่งโอ๊กไขว้พ.ศ. 2441-2496