วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Politique de la France

การเมืองของฝรั่งเศส

          สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

          รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากใน สภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)

 ปาเลส์ บูร์บง (Palais Bourbon) สถานที่ทำการของสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส



ปาเลส์ ดู ลูซองบูร์ก (Palais du Luxembourg) สถานที่ทำการของวุฒิสภาฝรั่งเศส


พระราชวังแวร์ซายส์ สถานที่ทำการที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาฝรั่งเศส
          รัฐสภาฝรั่งเศส (Parlement français) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส โดยยึดระบบสองสภา (Bicamérisme) ซึ่งประกอบไปด้วย

สภาสูง (Chambre haute) หรือเรียกว่า วุฒิสภา (Sénat) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม

สภาล่าง (Chambre basse) หรือเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée nationale française) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน 

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือชาวฝรั่งเศสทั้งหญิงและชาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (Conditions de candidature et d'éligibilité) มีดังนี้

1. คุณสมบัติ (Eligibilité) 
บุคคล สัญชาติฝรั่งเศสทั้งเพศหญิงและชายมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

2. ลักษณะต้องห้าม (Inéligibilité)

2.1 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคล
• อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง การควบคุมในทางปกครอง 
• ต้องโทษมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 
• ถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกห้ามมิให้บริหารงานรัฐวิสาหกิจ หรือต้องสะสางบัญชีทรัพย์สินตามคำสั่งศาล 
• ไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมาย 

2.2 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ 
ผู้ ดำรงตำแหน่งซึ่งมีผลประโยชน์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมแก่ผู้สมัคร ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา กฎหมายได้ระบุถึงตำแหน่งหน้าที่ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอันมีลักษณะต้องห้ามไว้ ดังนี้ 

• เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของสาธารณรัฐในทุกเขตเลือกตั้ง 
• เป็นผู้ว่าการจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือได้ปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 
• ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเขตเลือกตั้งนั้นหรือเคยปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน 
• เป็นผู้พิพากษา 
• เป็นเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาในเขตนั้น 
• เป็นข้าราชการ ผู้รับผิดชอบด้านงานบริหาร หรือการกำกับดูแลในองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระดับภาค องค์กรระดับจังหวัดแห่งสาธารณรัฐ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Grand jour de France

วันสำคัญของฝรั่งเศส

          แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นรัฐฆราวาส แต่วันสำคัญต่าง ๆ กลับเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุบังเอิญว่าวันต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา คริสต์วันขึ้นปีใหม่ (Jour de l’an) 1 มกราคม วันนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันแรกของปีตามตารางปฎิทินสากล ในประเทศฝรั่งเศส

วันขึ้นปีใหม่  
  
          10 มกราคมนี้เริ่มกำหนดใช้ในปี ค.ศ. 1564 และ วันที่ 31 ธันวาคมถือว่าเป็นการฉลองคืนส่งท้ายปีเก่าเพื่อต้อนรับขึ้นวันปีใหม่ด้วย ในวันขึ้นปีใหม่นี้ ถือเป็นโอกาสที่จะให้ของขวัญ (เงิน)กับเด็ก ๆ                                                       
เอพิพานี (Epiphanie)  

          เทศกาลของชาวคริสเตียน ในโบสถ์ละติน เป็นการฉลองการมาเยี่ยม พระเยซูของ Rois mages โดยธรรมเนียม มีการทานขนมหวาน เค้ก (รูปทรงมงกุฎในทางตอนใต้) หรือ กาแลตดูครัว (ทางเหนือของฝรั่งเศส) จัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม 
                                                   
ชองเดอเลอ (Chandeleur)  

          2 กุมภาพันธุ์ วันทางศาสนาของชาวคริสเตียน แรกเริ่มมาจาก เทศกาลแสงไฟ ในปี ค.ศ. 472 เทศกาลนี้ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองการเป็นตัวแทนของ พระเยซูภายในโบสถ์ตาม ธรรมเนียมมีการทำขนมเครป แล้วโยนขึ้นกลับด้านโดยกำเงินไว้ในมือ อีกข้างเพื่อถือเป็นการนำโชคดีมาสู่ ตัวผู้โยน                                                        
มาร์ดี-กรา (Mardi-gras) 
 
           เทศกาลของชาวคาทอลิก เมื่อวันสิ้นสุด 7 วันหลังเทศกาลงานรื่นเริง (ซึ่งผ่านมื้ออาหารกันมาตลอดสัปดาห์) วันนี้กำหนดขึ้น 47 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ และเป็นการ เริ่มต้นของกาเรม (เทศกาลถือศีลอด) สัญลักษณ์ของเทศกาลนี้คืองานกานาวาล (ซึ่งมีความหมายถึงการเอาเนิ้อออก หรือการเริ่มต้นการถือศีล) ตามธรรมเนียมต้องการให้ชาวบ้านแต่งตัวหลากหลายในวันนั้น (ในทุกวันนี้กลายเป็นเด็ก ๆ ) ในบางหมู่บ้านมีการเผาตุ๊กตากานาวาลในวันงานด้วย 
                                                   
 Mercredi des Cendres 
 
           เทศกาลของชาวคาทอลิก เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลอด เป็นสัญลักษณ์ให้เตือนถึงการตาย อาทิตย์แรกของเทศกาลศีลอด (1er dimanche de Carême) ไม่มีกิจกรรมใด ๆ พิเศษ พฤหัสบดีกลางเทศกาลศีลอด (Jeudi de la Mi-cerême) เป็นสัญลักษณ์ครึ่งนึงของช่วง เทศกาลถือศีลอดที่มี 40 วัน(โดยไม่นับวันอาทิตย์) ตรงกับวันพฤหัสบดีของอาทิตย์ที่ 3 ของตลอดระยะเวลาเทศกาลถือศีล เป็นการพักของช่วงการถือศีล ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลองกันนัก 
                                              
Dimanche des Rameaux

          รำลึกการเดินทางถึงนครเยรูซาเลมของพระเยซู และความรักของ พระเยซุคริสต์และการเสียชีวิตบนไม้กางเขน 

                                    วันอาทิตย์อีสเตอร์ (Dimanche de Pâques) 

           3 วันหลังจากวันสิ้นชีพของพระเยซุ พระเยซูได้ ฟิ้นคืนชีพ เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันสำคัญที่สุดของปฎิทินชาวคริสต์ เป็นสัญลักษณ์ของวันสิ้นสุดของเทศกาลถือศีลอด วันอีสเตอร์สอดคล้องกับวันอาทิตย์แรกต่อจากวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ ผลิ ชาวคริสต์ต้องหยุดงานเพื่อไปสวดมิซซา ในวันนี้พระสันตปะปาจะประทานพรในฝรั่งเศสตามธรรมเนียมทำการมอบไข่ (ช็อกโกแลต) หรือของประดับธรรมเนียมอิ่น ๆเกี่ยวกับอาหาร : ทานแกะ 
                                          
วันจันทร์อีสเตอร์ (Lundi de Pâque)

          ในยุคกลางตลอดสัปดาห์หลังเทศการอีสเตอร์เป็นสัปดาห์นักขัตฤกษ์ ในปัจจุบันเหลือลงเพียงวันจันทร์ และไม่ใช่งานฉลองที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีของฝรั่งเศสไม่มีการฉลองเป็นพิเศษ 
                                              
วันนำสาร (Annonciation) 
 
           25 มีนาคม ตามศาสนาคริสต์ เทวดากาเบรียล นำสารมาบอกมารีถึงการตั้งครรภ์พระเยซู 9 เดือนก่อนวันคริสต์มาสถือได้ว่าเป็นวันจุติของพระเยซู 
                                    
วันรำลึกการถูกคุมตัว(Souvenir déportés)
 
           เป็นวันระลึกถึง 150000 ฝรั่งเศสที่ถูกนำตัวไปเข้าค่ายกักกันของนาซี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนวันรำลึกนี้จัดอยู่ใน อาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน 
                                         
 วันแรงงาน ( Fête du travail) 

           1 พฤาภาคม เป็นธรรมเนียมของผู้ใช้แรงงานในการต่อสู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่จัดเป็นวันหยุดประจำปี ประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้นในปี 1919 และในปี 1947 เป็นวันหยุดเต็มวันโดยได้รับค่าแรงด้วย ในวันนี้สหภาพแรงงานต่าง ๆ จะเดินขบวนกันตามเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และมีการมอบช่อดอกมูเก้ด้วย 
                                 
  วันกลับคืนสู่สวรรค์ (Jeudi de l’Ascension) 
  
          เป็นการฉลอง 39 วันหลังจากเทศกาลอีสเตอร์ หลังจากลงมาเผยแพร่คำสอน พระเยซุก็ได้เสด็จกลับขึ้นสวรรค์์ 
                                          
วันฉลองชัยชนะ (Victoire 1945) 
 
           ชัยชนะทีมีต่อเยอรมันในยุคการครอบครองโดยทหารนาซี สันติภาพได้กลับคืนสู่ ทวีปยุโรป โดยสัญญาสงบศึกที่ทำขึ้นในวันที 8 พฤษภาคม 1945 เวลาประมาณเที่ยงคืน โดยมีนายพลโซเวียต Jpukov ฝ่ายนาซี Keitel ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนายพล de Lattre ของฝรั่งเศส เป็นวันนักขัตฤกษ์ตั้งแต่ปี 1953 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย V.Giscard d’Estaing และได้กลับมากำหนดใหม่ในยุคของ F.Mitterrand 1 มิถุนายน 1981 
                              
วันอาทิตย์ปงโตโค๊ต (Dimanche de Pentecôte)

          เป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์ กำหนดขึ้น7 อาทิตย์หลังเทศกาลอีสเตอร์ เพื่อรำลึกถึงวิญญาณศักด์สิทธิ์ที่ลงมาจาก... 
                                                 
   ทรินิเต้ (Trinité) 
 
          วันเทศกาลของชาวคริสต์ อาทิตย์ที่ 8 หลังจากเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการเฉลิมฉลองมากนัก ในศาสนาคริสต์ ทรินิเต้เป็นการกล่าวถึงพระเจ้าใน 3 บุคคล พระบิดา บุตร และพระจิต 
                                                
วันพระเจ้า (Fête Dieu)
 
          ฉลองในวันพฤหัสบดีถัดจากวันทรินิเต้ (หรืออาจวันอาทิตย์ขึ้นอยู่กับทางปฎิบัติ) ฉลองถึงความเสียสละของพระคริสต์ โดยมีการแบ่งขนมปัง 
                                               
วันแม่ (Fête des mères) 

          กำหนดเป็นทางการในปี 1928 กำหนดไว้ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม (หรือกรณีพิเศษเลื่อ่นไปในเดือนมิถุนายนหากชนกับปงโดโค๊ต) ในปัจจุบัน กลายเป็นการค้าและเป็นวันที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ 
                                               
วันพ่อ (Fête des pères)
 
          เช่นเดียวกับวันแม่ แต่มีกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี 1952 
                                              
วันชาติ (Fête Nationale)
 
          รำลึกถึงวันแห่งการปฎิวัติของฝรั่งเศส 1789 โดยเฉพาะการทำลายคุกบาสตีล ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1978 คุกบาสตีลเป็นคุกสำคัญของปารีส และเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ชาวกรุงปารีสได้ทำการเผาและเข้ายึดคุก การเข้ายึดคุกบาสตีลนี้กลายเป็น สัญลักษณ์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 
                                            
                                             วันอัสสัมซิยง (Assomption) 
         
           15 สิงหาคม วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกที่ทำการฉลองในการที่พระแม่มารีขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เป็นวันสำคัญกลางฤดูร้อนมีการ........ 
                                                 
 Croix glorieuse
 
           14 กันยายน กำหนดโดยจักรพรรคดิ์กองสตองแตง ในปี ค.ศ. 335 ในปัจจุบันมีการฉลองในวันนี้ไม่มากนัก 
                                              
  ตุสแซง (Toussaint) 
 
           1 พฤศจิกายน วันทางศาสนาของชาวคาทอลิก ในการเฉลิมฉลองให้กับทุกนักบุญโดยโบสถ์โรมัน ในวันนี้ได้กลายเป็นวันเยี่ยมหลุมฝังศพ เพือ่วางดอกไม้กับผู้เสียชีวิตไปแล้ว และดอกคริสซองแตม 
                                                   เดฟัน (Défunts)
 
           2 พฤศจิกายน ในฝรั่งเศสรวมกันกับวันหยุดตุสแซง วันสิ้นสุดสงคราวโลกครั้งที่ 1 (Armistice 1918) 11 พฤศจิกายน 1918 รำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการเซ็นสัญญายุติสงครามมที่ Rethondes ป่า Compiège (Oise) 
                                                     
 Christ Roi 
 
           วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกอาทิตย์สุดท้ายของปี 5 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส Avent ช่วงเวลาหลังจากคริสต์มาส ระหว่าง 3-4 สัปดาห์ 
                                                  
 คริสต์มาส (Noël) 
 
           เป็นเทศกาลการเกิดของพระเยซูคริสต์ มีการกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 354 โดยสันตปะปา Libère มีการประดับตกแต่งในวันที่ 24 ธันวาคมตอนเย็น ด้วยต้นสน คอกเด็ก ของขวัญ และทานอาหรระหว่างครอบครัว เทศกาลนี้ยังกลายเป็นสัญสักษณ์การทำค้าขาย อย่างมหาศาล 
                                            
วันครอบครัว (Saint famille)
 
           ต่อจากคริสต์มาส (อาทิตย์หรือศุกร์ถัดไปหากวันคริสต์มาส ตรงกับวันอาทิตย์)เป็นการสร้างครอบครัวโดยเยซูและมีบุพการีคือ มารีและโยเซพ

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Le championnat de France de football masculin


  

     Le championnat de France de football masculin, dénommé « Ligue 1 » (L1), est une compétition de football qui représente en France le sommet de la hiérarchie du football. La compétition se déroule annuellement sous forme d'un championnat mettant aux prises vingt clubs professionnels. Une saison du championnat commence en été et se termine au printemps suivant. La première journée de l'édition inaugurale se tient le 11 septembre 1932. Nommé « Division Nationale » lors de la saison 1932-1933, le championnat prend le nom de « Division 1 » (D1) en 1933, avant de prendre son nom actuel à l'été 2002.

     L'AS Saint-Étienne est le club le plus couronné avec dix titres de champion de France alors que l'Olympique lyonnais est le club qui a remporté le plus de titres consécutifs (7 entre 2002 et 2008). Le Paris Saint-Germain est le tenant du titre de la saison 2012-2013.

     Avec 66 saisons de présence en Ligue 1, le Football Club Sochaux-Montbéliard détient le record du nombre de saisons parmi l'élite, alors que le Football Club de Nantes détient quant à lui le record de longévité en Ligue 1 avec 44 saisons consécutives (de 1963 à 2007). Le Paris Saint-Germain est actuellement le doyen de la Ligue 1 puisqu'il y est présent depuis 1974 (soit sa40e année consécutive en 2013-2014).

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Saison en France

ฤดูกาลในฝรั่งเศส

          
          ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนาวในปีหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 ฤดู แต่ละฤดูจะกินเวลา 3 เดือน วันเดือนที่กำหนดว่าเป็นวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของแต่ละฤดู นั้นจริง ๆแล้วไม่ได้หมายความว่าอากาศจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างนั้นจริง ๆวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิบางปีในบางท้องถิ่นอากาศจะหนาวมากกว่าฤดูหนาวในบางถิ่น ฤดูทั้ง 4 ของฝรั่งเศสมีดังนี้คือ


          1. ฤดูใบไม้ผลิ ( le  printemps ) ฤดูใบไม้ผลิเริ่มวันที่ 21 มีนาคม สิ้นสุดวันที่
21 มิถุนายน  ในฤดูนี้อากาศจะอบอุ่นขึ้น  ต้นไม้ที่โกร๋นปราศจากใบมาตลอด เวลา 3 เดือนในฤดูหนาวที่หนาวเย็นจะเริ่มผลิใบ การเปลี่ยนแปลงนี้รวดเร็วมาก ในเวลาไม่กี่วันหลังอากาศอบอุ่นต้นไม้จะผลิใบ เขียวชอุ่ม  ปลายเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนอากาศจะไม่แน่นอน  ในช่วงนี้จึง ยังคงเก็บเสื้อโค้ตไม่ได้เพราะอากาศจะหนาวเมื่อไรก็ได้   บางทีอาจจะมีฝนตกบ้าง   อากาศจะดีจริง ๆ  ในเดือนพฤษภาคม   ฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูที่สวยงาม   ฟ้าจะเป็นสีฟ้าใส  พระอาทิตย์ซึ่งไม่เคยปรากฏในฤดูหนาวเริ่มส่องแสง  ฤดูนี้ ได้ชื่อว่าเป็นฤดูแห่งดอกไม้แห่งงานฉลองแห่งความรัก  ( la saison  des  fleurs, des  fêtes,  des amours ) มีงานฉลองมากมาย เช่น พิธีรับศีลจุ่ม  พิธีแต่งงาน  ฯลฯ  สำหรับนักเรียนนักศึกษา  เดือนอากาศดีนี้หมายถึงการสอบปลายปี ด้วย แม้ว่าฤดูใบไม้ผลิจะเป็นฤดูที่ทุกคนคิดว่าเป็นฤดูที่สวย งาม อากาศดี แต่ก็เป็นฤดูที่อากาศไม่แน่นอน  อากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาด หมาย imprévisible ก็ได้แต่ฤดูใบไม้ผลิก็นับว่าเป็นฤดูที่ดีที่สุดฤดูหนึ่งของปี


           2.ฤดูร้อน  ( l’été ) เริ่มวันที่  22  มิถุนายน  สิ้นสุดวันที่  22 กันยายน ฤดูร้อนเป็นฤดูที่กลางวันยาวมาก   เมื่อกลางวันยาว   กลางคืนก็สั้นประมาณ  6 – 7 ชั่วโมง  กลางวันยาวในที่นี้หมายความว่าพระอาทิตย์ตกดินช้า  สามทุ่ม หรือสี่ทุ่มยังไม่มืด  เมื่อไม่มืดก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ถึงกลางคืน   ในประเทศสแกนดิเนเวียนนั้นในฤดูร้อน  กว่าพระอาทิตย์ตกดินหรือจะมืดก็ประมาณ ห้าทุ่มหรือเที่ยงคืน   กลางคืนจะยาวประมาณ  6 – 7 ชั่วโมง ฤดูร้อนในฝรั่งเศสอากาศร้อนผู้คนจึงไปชายทะเล  ฤดูร้อนเป็นฤดู แห่งวันหยุดผู้คนเฝ้ารอฤดูนี้เพื่อจะได้ไปเที่ยวทะเล  เพื่อจะได้อาบ แดด  เพื่อจะได้รับประทานผลไม้สด ๆ เช่น  สตรอเบอรี่   แต่ในฤดูร้อนผลไม้ยังไม่อร่อย   ต้องรอให้ผลไม้สุกเสียก่อน   ฤดูร้อนบางปีอากาศอาจจะไม่ดีฝนตกบ่อย ๆ  ฤดูร้อนที่อากาศไม่ดีเรียกว่า   été pourri   ความหมายก็บอกว่าไม่เพลิดเพลิน เป็น  “ฤดูร้อนที่เน่าเสีย” คาดว่า   “été  canicule”  หมายถึงช่วงต้นฤดูร้อนที่อากาศร้อนมาก   บางเมืองอากาศจะร้อนมาก  อุณหภูมิที่สูงสุดในฤดูร้อนในฝรั่งเศสประมาณ  30 องศาเซลเซียส  ซึ่งร้อนมากสำหรับประเทศหนาว  ทำให้คนอยากไป   vacances  โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองใหญ่อย่างปารีส



          3.  ฤดูใบไม้ร่วง ( l’automne ) ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นวันที่  23  กันยายน สิ้นสุดวันที่  21   ธันวาคม   อากาศที่สดใส   แดดจ้าในฤดูร้อนเริ่มเปลี่ยน   ท้องฟ้าสีเทา  ลมแรง ใบไม้เริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีเหลือง   กลางวันสั้นมากขึ้นกลางคืนยาวขึ้นใบไม้สีเหลือง แห้งและร่วง  ฤดูใบไม้ร่วงก็เหมือนฤดูอื่น ๆ  คือ อาจจะเป็นฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศดีหรือฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศไม่ดี คือ ฝนอาจจะตกบ่อยตอนต้นฤดูอากาศมักจะดีตอนปลายฤดูคือ เดือนพฤศจิกายนอากาศจะไม่ดีท้องฟ้าเป็นสีเทาและมืดครึ้มตอนที่ใบไม้ร่วง ต้นไม้โกร๋นเป็นตอนที่เศร้าแต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สวยฤดูหนึ่ง   เพราะใบไม้ที่เปลี่ยนสีทำให้ฟ้าสวยงามหาที่เปรียบไม่ได้ ป่าไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ( ตอนต้นและตอนกลางฤดู )จะใช้คำขยายว่า  coloré ซึ่งหมายถึงระบายด้วยสีประดับด้วยสี ( อันสวยงาม ) “ศิลปินมักจะให้ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สวยที่สุด เนื่องจากสีใบไม้ที่เปลี่ยนสีแตกต่างกันมากมายหลายสีซึ่งธรรมชาติเท่านั้นจะทำได้  ทางใต้ของฝรั่งเศสอากาศจะไม่หนาวแต่มีลมแรง ( mistral )  ทางใต้จึงปลูกต้นไม้ที่สู้ลมได้   เช่น  ต้นมะกอก  ( olivier ) ต้นโอ๊ค ( chêne  vert )  และต้นไม้ที่มีรากยาว ๆ  เช่น องุ่น  ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่ดีที่สุดของคนบางกลุ่ม  คนฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งที่ชอบล่าสัตว์จะถือปืนออกล่าสัตว์  ฤดูนี้เป็นช่วงที่คนในประเทศหนาวสามารถอยู่กลางแจ้งได้ก่อนที่ความหนาวจะ คลืบคลานเข้ามาถึง



          4. ฤดูหนาว ( l’hiver ) เริ่มวันที่  22  ธันวาคม สิ้นสุดวันที่  20  มีนาคมปลายฤดูใบไม้ร่วง   กลางวันสั้นมากขึ้น   ท้องฟ้ามืดครึ้ม   ฤดูหนาวในประเทศหนาวหรือประเทศฝรั่งเศสคือ  ความหนาว   ฝนและหิมะ   แต่ฤดูหนาวก็เหมือนฤดูอื่น ๆ  คือ เป็นฤดูที่คนบางกลุ่มเฝ้ารอ   นั่นคือผู้ที่ชอบกีฬาฤดูหนาวและผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกีฬาฤดูหนาวเมืองที่อยู่บริเวณภูเขาและเป็นสถานีสกี ( Stations  de  ski ) จะคึกคักและมีชีวิตชีวาฤดูหนาวเป็นฤดูแห่ง   “sports  d’hiver” ครอบครัวหรือโรงเรียนจะพาลูก ๆ  และเด็ก ๆ  ไปเล่นสกีบนภูเขาในช่วง   vacances  de  neige   ผู้เดินทางในการขับรถที่อยู่ในเขตภูเขาที่มีหิมะตกจะต้องมี   pneus  à  clous  หรือ roués  avec  chaine ซึ่งเป็นยางรถที่ใช้บนถนนที่ลื่นด้วย  vergla  ( ฝนปนหิมะ ) gel  ( น้ำที่แข็งตัว ) และ dégel  ( น้ำแข็งที่ละลายแล้ว )   นอกจากเจ้าของรถจะต้องเตรียมรถของตนให้พร้อมที่จะแล่นไปบนถนนที่อันตราย แล้วทางราชการก็เตรียม  chasse – neiges ( รถกวาดหิมะ ) เพื่อเปิดทางหากหิมะตกมาก ๆ  บนทางหลวงก็จะมีกระสอบทรายและกระสอบเกลือวางไว้ประจำฤดูหนาวเป็นฤดูแห่งงานฉลองจะเห็นว่ามีเทศกาลหลายเทศกาลในฤดูนี้ เช่น   Fête  de  Saint – Nicolas, Noël,  Nouvel  An,  Fête  des  Rois, Carnavalนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอากาศปานกลาง  ( le  climat  doux   et   tempéré ) ของยุโรปแล้วอากาศในฝรั่งเศสยังแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ   และลักษณะที่เด่นคือ ความไม่แน่นอน อากาศแต่ละฤดูไม่เหมือนกัน และฤดูเดียวกันในแต่ละปีก็ไม่เหมือนกัน

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Robert II of France

Robert II of France 

 

 

      obert II de France, surnommé « Robert le Pieux » est né à Orléans vers 9721 et est mort au château de Melun le 20 juillet 1031. Fils d’Hugues Capet et de son épouse Adélaïde d'Aquitaine, il est le deuxième roi franc de la dynastie capétienne. Il règne de 996 à 1031 et est ainsi l'un des souverains de l’an mil.

Associé dès 987 à la royauté, il assiste son père sur les questions militaires (avec le siège par deux fois, en 988 et 991 de Laon). Sa solide instruction, assurée par Gerbert d'Aurillac à Reims, lui permet de s’occuper des questions religieuses dont il devient rapidement le garant (il dirige le concile de Verzy en991 et celui de Chelles en 994). Poursuivant l’œuvre politique de son père, après996, il parvient à maintenir l’alliance avec la Normandie et l’Anjou et à contenir les ambitions d'Eudes II de Blois.

Au prix d’une longue lutte débutée en avril 1003, il conquiert le duché de Bourgogne qui aurait dû lui revenir en héritage à la mort, sans descendance directe, de son oncle Henri Ier de Bourgogne, mais que ce dernier avait transmis à son beau-fils Otte-Guillaume.

Les déboires conjugaux de Robert le Pieux avec Rozala d'Italie et Berthe de Bourgogne (qui lui valent une menace d’excommunication), puis la mauvaise réputation de Constance d'Arles, contrastent étrangement avec l’aura pieuse, à la limite de la sainteté, que veut bien lui prêter son biographe Helgaud de Fleurydans la Vie du roi Robert le Pieux (Epitoma vitae regis Roberti pii). Sa vie est alors présentée comme un modèle à suivre, faite d’innombrables donations pieuses à divers établissements religieux, de charité envers les pauvres et surtout de gestes considérés comme sacrés, telle que la guérison de certains lépreux : Robert est le premier souverain considéré comme thaumaturge. La fin de son règne révèle la relative faiblesse du souverain qui doit faire face à la révolte de son épouse Constance d'Arles puis de ses propres fils (Henri et Robert) entre1025 et 1031.

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Château Breisach

ปราสาทบรีซัค



            ตามประสาของปราสาทในฝรั่งเศสที่ต้องตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามตามแต่ใจตัวเอง ปราสาท บรีซัค (Brissac) กลางหุบเขาลัวร์ขนาด 7 ชั้น มีห้องมากกว่า 200 ห้อง เพดานทาด้วยทองคำ ม่านลายดอกประดับผนังและพรมลายดอกไม้เข้าชุดกันชนิดผู้มีโอกาสมาเยือนแทบลืมหายใจ เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก เสาปราสาททำจากแก้วคริสตัล ไม่ใช่สถานที่ที่แย่เกินไปที่จะอยู่อาศัย ยกเว้นความจริงที่ว่าคุณจะต้องอยู่กับวิญญาณของ ชาร์ลอต (มาดามของจาร์ค เดอ บรีซ)และชายชู้ของเธอ ทั้งคู่ถูกสังหารที่นี่ หลังจากทั้งคู่ถูกปลิดชีวิต บรีซก็ต้องบอกขายปราสาทในเวลาไล่เลี่ยกัน เพราะไม่สามารถทนกับเสียงร้องโหยหวนกลางดึกของผีชู้รักคู่นี้ได้

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Kit de Méditerranée

เมดิเตอร์เรเนียนกิช


กิช (ฝรั่งเศสquicheสัท./kiʃ/) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่ากิชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่กิชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในกิชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้
ถึงแม้ว่ากิชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Chanel

 ชาแนล


       โกโก หรือ กาเบรียล ชาแนล (Gabrielle Bonheur "Coco" Chanel)เป็นนักออกแบบเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายและเครื่องประทินความงามชาวฝรั่งเศส เป็นตัวอย่างนักแฟชั่นในศตวรรษที่ 20 และเป็นผู้ก่อตั้งผลิตภัณฑ์ ชาแนล ของฝรั่งเศสเดิมชื่อกาเบรียล บาน่า ชาแนล เมื่อเธอเริ่มโตเกิดปัญหาการเงินในครอบครัวเธอจึงต้องไปร้องเพลงในคาเฟ่เพื่อหาเงินเลี้ยงชีพ วันหนึ่งเธอร้องเพลง กิตาวู โกโก เป็นที่ถูกใจของผู้ฟังและเรียกร้องให้เธอร้องอีกโดยตะโกนว่า"โกโก ชาแนล" ตั้งแต่บัดนั้นคนก็รู้จักเธอในนาม"โกโก ชาแนล"เธอเริ่มเปิดร้านขายหมวกในปารีสและเริ่มคิดค้นน้ำหอมทั้ง 10 กลิ่นโดยกลิ่นที่เธอชอบและเป็นกลิ่นที่ขายดีที่สุดคือแชแนลนัมเบอร์ไฟว์ ชาแนลเป็นผู้ริเริ่มให้ผู้หญิงใส่กางเกงเป็นคนแรก และเธอก็คิดค้นสูทของผู้หญิงมีชื่อเรียกว่าชาแนลสูท สัญลักษณ์ของ ชาแนล คือรูปดอกพุดสีขาวเพราะเป็นดอกไม้ที่ชาแนลชอบนำติดตัวไปในงานโชว์เสื้อของเธอโดยเธอมักจะนำมาทัดไว้ที่ผม

วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Voitures anciennes

เปอโยต์
    
                    

เปอโยต์ (ฝรั่งเศสPeugeot) เป็นหนึ่งในบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ที่เก่าแก่ในโลก สัญลักษณ์ของเปอร์โยต์เป็นรูปสิงโตยืนสองขา ตระกูลเปอโยต์ใช้ตรานี้เป็นเครื่องหมายการค้ามาตั้งแต่ปี 1858 ที่มาของสัญลักษณ์นี้ คือตราประจำเมืองเบลฟอร์ต (BELFORT) ซึ่งเป็นเมืองที่โรงงานแห่งหนึ่งของเปอโยต์ตั้งอยู่ และกลายมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายสำคัญของฝรั่งเศส
เปอโยต์ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1810 โดยฌอง เปอกีโนต์ เปอโยต์ เริ่มจากการเป็นผู้ผลิตเครื่องบดเมล็ดกาแฟ และเครื่องสูบน้ำ ต่อมาได้เริ่มผลิตรถจักรยานทรงสูงแบบเพนนี-ฟาร์ธิง บริษัทเริ่มผลิตรถยนต์ในปี ค.ศ. 1882 และรถจักรยานยนต์ในปี ค.ศ. 1889
ปัจจุบัน เปอโยต์เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายหนึ่งในจำนวนสองรายของกลุ่มธุรกิจ เปอโยต์ กรุพ (PEUGEOT S.A.) คู่กับ ออโทโมบิล ซีตรอง ผู้ผลิตรถซีตรอง ในรอบปี 1990 เปอโยต์ผลิตรถยนต์นานาชนิดออกสู่ตลาดทั่วโลกรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.4 ล้านคัน รถที่ผลิตมากที่สุดคือ เปอโยต์ 205 รองลงไปคือ เปอโยต์ 405 และเปอโยต์ 309
โดยส่วนรวม กลุ่ม เปอโยต์/ซีตรองเป็นผู้ผลิตรถยนต์นั่งรายใหญ่เป็นอันดับสามของยุโรป รองจากกลุ่มโฟล์คสวาเกน เอาดี เซอาท ของเยอรมนี และกลุ่มเฟียตลันชิดา อัลฟา โรเมโอ ของอิตาลี ในรอบปี 1990 กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์รายนี้ขายรถยนต์นั่งในยุโรปได้รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.7 ล้านคัน

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Mode

เสื้อผ้าแฟชั่น

     
        ตลาดภายในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่ผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของยุโรปรองจากประเทศอิตาลี เสื้อผ้า ที่อยู่ภายใต้แบรนด์ฝรั่งเศสและออกแบบโดยช่างฝีมือฝรั่งเศสถือเป็นที่ยอมรับทั่วโลก และถือเป็นเสื้อผ้าที่มี เอกลักษณ์ มีความเป็นสมัยนิยม และมีคุณภาพสูง การนำเอาแฟชั่นมาประยุกต์ใช้ในการผลิตเสื้อผ้าเป็นต้นกำเนิด ที่ทำให้ประเทศฝรั่งเศส เป็นที่รู้จักเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้านำสมัย และเป็นต้นกำเนิด ของคำว่า Haute Couture ถ่ายทอดจากนักออกแบบชื่อดังในอดีต จนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามตลาดเสื้อผ้าและสิ่งทอในประเทศฝรั่งเศสเกิดการชะลอตัวในช่วง 20 ปี หลัง เนื่องจากมีการ แข่งขันกันอย่างสูงจากผู้ผลิตที่ใช้ต้นทุนต่ำกว่า ทำให้ในช่วง 10 ปีหลังมีการเลิกจ้างงานในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าใน ฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนแรงงานทั้งหมด สาเหตุของการเลิกจ้างนั้นเกิดจากการย้ายฐานการผลิตในประเทศฝรั่งเศสไปยังประเทศที่ต้นทุนการผลิต และค่าแรงถูกกว่า หรือมีการนำเข้าสินค้าราคาถูกจากประเทศในทวีปอเมริกาเหนือ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ ยุโรปตะวันออก บริษัทฝรั่งเศสมากกว่าครึ่งเลือกที่จะพัฒนาระบบ outsourcing เช่น การจ้างผลิตจากบริษัทอื่น ๆ ในต่างประเทศ การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการผลิต ซึ่งวิธีนี้ช่วยลดต้นทุนการผลิตบางส่วนได้ เพื่อตอบรับกับการแข่งขันอย่างสูงระหว่างประเทศกลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าแฟชั่นใหม่ๆและสิ่งทอในประเทศฝรั่งเศส ต้องหาวิธีการตลาดต่าง ๆ เช่น Branding การออกแบบ และนวัตกรรม เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ดังนี้ [x] เพื่อการพัฒนาคุณภาพของสิ่งทอ [x] เพื่อคิดค้นสิ่งทอใหม่ ๆ ที่มีคุณภาพและไม่เป็นอันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม [x] เพื่อคิดหากระบวนการผลิตใหม่ ๆ ที่จะช่วยรักษาสภาพแวดล้อม เสื้อผ้าสตรีครองอันดับหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส ด้วยปริมาณการผลิตสูงถึง 43% และมากกว่า 1/3 ของยอดขายเสื้อผ้าที่ผลิตได้ทั่วโลกเป็นเสื้อผ้าสำหรับผู้หญิง กล่าวได้ว่าประเทศฝรั่งเศสประสบความสำเร็จ ในการผลิตเสื้อผ้าอย่างมีสไตล์และเป็นที่ต้องการในกลุ่มลูกค้าหญิงชาวฝรั่งเศสมากกว่าประเทศอื่น ๆ อุปโภคภายในประเทศ ประเทศฝรั่งเศสเป็นตลาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ในสหภาพยุโรป รองจากเยอรมนี อิตาลี และสหราชอณาจักร แนวโน้มราคา การที่เงินดอลล่าร์อ่อนค่าลง ประกอบกับการระงับมาตรการกีดกันทางการค้าจากประเทศจีนทำให้มีการ นำเข้าเสื้อผ้าราคาถูกเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ราคาเสื้อผ้าลดลง โดยเฉพาะ เสื้อผ้าผู้หญิงและเด็ก เนื่องจากมีการแข่งขัน กันสูงระหว่างผู้ประกอบการที่คอยเสาะหาแหล่งผลิตเสื้อผ้าแฟชั่นราคาถูกกว่าแต่นำสมัย ในทางกลับกันเสื้อผ้าสำหรับผู้ชาย จะมีราคาสูงกว่าและราคาไม่ถูกลงมากนัก

วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Les couleurs du drapeau français

สัญลักษณ์สีธงชาติฝรั่งเศส


ไก่เบรส (ฝรั่งเศส)

         ไก่เบรส คือไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศฝรั่งเศส ที่ชาวเมืองน้ำหอมภูมิใจนำเสนอ จัดเป็นไก่ชั้นสูง เลี้ยงในฟาร์มเปิด ชาวฝรั่งเศสบอกว่า ไก่เบรส สามารถกิน-ดื่มได้อย่างเสรี ยิ่งไปกว่านั้น ชาวฝรั่งเศสยังถือเป็นไก่ของชาวฝรั่งเศสโดยแท้ เนื่องจากในตัวไก่ มีสีของธงชาติฝรั่งเศสครบทั้ง 3 สี นั่นเอง
        ลองมองให้ดี ต้องหาไก่เบรสเป็นๆ ที่เดินตามทุ่ง อย่าเพิ่งทำให้สุกจน มองไม่เห็นสีธงชาติฝรั่งเศสเสียก่อน สีที่ว่าได้แก่ ขนสีขาวทั้งตัว ขาสีน้ำเงิน และหงอนสีแดง นี่คือสีธงชาติฝรั่งเศส ต่อเมื่อไก่ถูกสำเร็จโทษแล้ว ก็ยังมองเห็นขาสีน้ำเงินสด ขนมองไม่เห็นแล้ว แต่เนื้อสีขาว อกแน่น กลิ่นเหมือนใบพาสเลย์ และผิวขาวเนียน ดังไข่มุก โดยเฉพาะที่มีความฉ่ำนุ่ม และมีไขมันแทรกตามเนื้อไก่ นี่คือข้อแตกต่างของไก่เบรส โดยเฉพาะถ้าเป็นไก่เบรส จากฟาร์มมาตรฐาน ที่เลี้ยงกันมากแถบฝรั่งเศสตอนใต้ จะมีวงแหวนติดอยู่ที่ข้อเท้าไก่ บอกถึงแหล่งที่มาและใบรับประกันคุณภาพ

วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Métro de Paris

รถไฟฟ้าปารีส

รถไฟฟ้าปารีส (ฝรั่งเศสMétro de Paris) เป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ถือเป็นสัญลักษณ์ของเมืองก็ว่าได้ เห็นได้ชัดจากอิทธิพลของนวศิลป์ (Art Nouveau) มีเส้นทางทั้งหมด 16 สาย ส่วนมากมักจะอยู่ใต้ดินและมีความยาวทั้งสิ้น 213 กิโลเมตร (133 ไมล์) และมีสถานี 298 แห่ง
รถไฟฟ้าสายแรกเปิดโดยไม่มีพิธีรีตองในปี พ.ศ. 2443 ระหว่างงานนิทรรศการนานาชาติ (Exposition Universelle 1900) หลังจากนั้นระบบขนส่งมวลชนรถไฟฟ้าได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเสร็จในช่วงปี พ.ศ. 2463 ส่วนการขยายออกไปยังชานเมืองได้บรรลุในช่วง 10 กว่าปีต่อมา
ระบบรถไฟฟ้าปารีสได้ถึงจุดอิ่มตัวในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งระบบรถไฟฟ้าก็ได้นำขบวนรถไฟฟ้าใหม่เข้ามาให้บริการเนื่องจากการจราจรอันคับคั่ง ซึ่งการต่อเติมนั้นเป็นไปได้ยากและมีขีดจำกัดจึงได้เกิดรถไฟฟ้าแอร์เออแอร์ขึ้นในปี พ.ศ. 2503 เป็นต้นมา
กรุงปารีสเป็นเมืองที่มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่หนาแน่นที่สุดในโลก ด้วยสถานีกว่า 245 แห่งภายในเนื้อที่กรุงปารีส 41 ตารางกิโลเมตร (16 ตารางไมล์) แต่ละสายจะมีชื่อเป็นหมายเลขตั้งแต่ 1 ถึง 14 และมีสายรองอีกสองสายคือ สาย 3 (2) และสาย 7 (2) สายรองทั้งสองเคยเป็นส่วนหนึ่งของสาย 3 และ 7 แต่แยกตัวออกมาภายหลังในปี พ.ศ. 2514 และ พ.ศ. 2510 ตามลำดับ
รถไฟฟ้าปารีสมีสถานีทั้งหมด 298 แห่ง (382 ป้าย) โดยเชื่อมต่อกับสายอื่น 62 ป้าย มีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการประมาณ 4.5 ล้านคนต่อวัน (1,409 ล้านคนต่อปี) ถือเป็นลำดับที่ 4 ของโลก ตามหลังมอสโก โตเกียว และเม็กซิโกซิตี และอยู่ในลำดับที่ 7 ของโลกเมื่อเปรียบเทียบระยะทางการเดินรถไฟฟ้า รองจากนิวยอร์ก โซล โตเกียว มอสโก มาดริด (แต่ถ้ารวมกับแอร์เออแอร์แล้วจะอยู่ในอันดับที่ 1) ส่วนจำนวนสถานีนั้นอยู่ที่ลำดับ 3 ของโลก รองลงมาจากนิวยอร์ก (468 สถานี) และโซล ทั้งนี้สถานีชาเตอแล-เลอาลยังเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย
แต่ละสายจะมีเลขและสีในการบ่งบอก ส่วนทิศทางในการเดินทางเห็นได้จากสถานีปลายทางของแต่ละสาย

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

La formule de politesse

การทักทายกันแบบฝรั่งเศส

การทักทายกันทั่วไป
Bonjour บง ชูร์ แปลว่า สวัสดี
bonne nuit บอนนุย แปลว่า ราตรีสวัส
bon soir บงซัวร์ แปลว่าสวัสดีตอนเย็น
bon apres-midi บอน นัพเคร-มิดิ แปลว่า สวัสดีตอนกลางวัน
enchante อองชองเต แปลว่า ยินดีที่ได้รู้จัก
comment allez-vous? กอมมอง ตาเล วู? แปลว่า เป็นอย่างไรบ้าง?
tu vas bien? ตุ๊ วา เบียง? แปลว่า คุณสบายดีไหม?
bien, merci เบียง แมร์ซี่ แปลว่า สบายดี, ขอบคุณ

การทักทายกันในโอกาสพิเศษต่างๆ
ภาษาฝรั่งเศสน่ารู้ขอเสนอคำอวยพร หรือคำที่แสดงความปรารถนาดี ( Les souhaits ) ที่ใช้ในชีวิตประจำวันต่างๆดังนี้
Bonne Année ( บอนนานเน่ )แปลว่าสวัสดีปีใหม่

Joyeux Noël ( ชัวเยอ โนแอล )แปลว่า สุขสันต์วันคริสต์มาส

Joyeux Anniversaire ( ชัวเยอซานิแวร์แซร์ )แปลว่า สุขสันต์วันเกิด
Bienvenue ( เบียงเวอนู )แปลว่า ยินดีต้อนรับ 
Bon courage ( บง กูราช ) แปลว่่า ขอให้มีกำลังใจในการทำงาน

Bonne chance ( บอน ชองส์ ) แปลว่า ขอให้โชคดี / ประสบความสำเร็จ

Bon appétit ( บอนนาเปตี )แปลว่า ขอให้เจริญอาหาร
Bon voyage ( บง วัวยาช ) ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

Bonne journée ( บอน ชูร์เน่ ) แปลว่า ขอให้สนุกสนานในช่วงกลางวันนี้

Bonne soirée ( บอน ซัวเร่ )แปลว่า ขอให้สนุกสนานในช่วงค่ำคืนนี้

Bonnes vacances ( บอน วาก็องส์ )แปลว่า ขอให้สนุกสนานช่วงปิดภาคเรียน
Bonne nuit ( บอน นุย ) แปลว่า ราตรีสวัสดิ์

Fais de beaux rêves ( แฟ เดอ โบ แรฟ ) แปลว่าหลับฝันดี

Bonne santé ( บอน ซองเต้ )แปลว่า ขอให้มีสุขภาพดี
คำขอโทษภาษาฝรั่งเศส
suis desole (เฌอ ซุย เดโซเล) แปลว่าขอโทษ
Pardon (ปาร์ดง) แปลว่าขอโทษ
je m'excuse (เฌอ เม็กกูซ) แปลว่าขอโทษ
je m'excuse de vous deranger (เฌอ เม็กกูซ เดอ วูส์ เดรองเช่) แปลว่า แปลว่าขอโทษ
ก่อนที่จะถามเรื่องบางอย่าง ควรใช้สำนวน Excusez - Moi (เอ็กกูเซ - มัว) ตรงกับคำภาษาอังกฤษ excuse - me ครับ

การรับการของโทษ ก็มีหลายสำนวนเช่น
Ce n'est rien (เซอ เน เรียง) แปลว่าขอโทษIl n'y a pas de quoi (อิล นี ยา ปา เดอ กัว) แปลว่าขอโทษ
je vous en prie (เฌอ วูส์ ซง พรี) แปลว่าขอโทษ
ภาษารัก ภาษาฝรั่งเศสJe vous aime beaucou.(เฌอ วู แซม โบกู) แปลว่าฉันรักคุณมาก

แบบภาษาชาวบ้านนะ คือ 
Je t'aime (เฌอแตม)
ฉันรักเธอ

และอีกสำนวนที่แปลว่าคิดถึง
Je pense beaucoup a toi (เฌอ ปองส์ โบกู อา ตัว)
 แปลว่า ฉันคิดถึงเธอมากนะ สามารถใช้ได้กะทุกคนนะ 
และอีกสำนวนนะสุดโรแมนติกเลย คือ

Je t'aime a l'infini (เฌอ แตม อา แลงฟีนี) แปลว่า ฉันรักเธอตลอดกาลหรือรักเธอชั่วนิรันด์