วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Politique de la France

การเมืองของฝรั่งเศส

          สาธารณรัฐฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตย แบบสาธารณรัฐเดี่ยวกึ่งประธานาธิบดี รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2501 โดยผ่านการลงประชามติ สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญนั้นคือการเพิ่มอำนาจประธานาธิบดี อำนาจฝ่ายบริหารนั้นถูกแบ่งออกและมีหัวหน้า 2 คน ซึ่งก็คือประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ ผ่านการเลือกตั้งโดยตรงแบบสากล มีวาระ 5 ปี (เดิม 7 ปี) มีตำแหน่งประมุขแห่งรัฐอีกด้วย และนายกรัฐมนตรี หัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งถูกแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

          รัฐสภาฝรั่งเศสนั้นแบ่งออกเป็น 2 สภาได้แก่ สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée Nationale) และ วุฒิสภา (Sénat) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนในเขตเลือกตั้ง มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระ 5 ปี สภาผู้แทนราษฎรมีอำนาจในการอภิปรายไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีและเสียงข้างมากใน สภาสามารถกำหนดการตัดสินใจของรัฐบาลอีกด้วย สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกของคณะผู้เลือกตั้ง มีวาระ 6 ปี (เดิม 9 ปี)

 ปาเลส์ บูร์บง (Palais Bourbon) สถานที่ทำการของสภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส



ปาเลส์ ดู ลูซองบูร์ก (Palais du Luxembourg) สถานที่ทำการของวุฒิสภาฝรั่งเศส


พระราชวังแวร์ซายส์ สถานที่ทำการที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภาฝรั่งเศส
          รัฐสภาฝรั่งเศส (Parlement français) เป็นสถาบันฝ่ายนิติบัญญัติในระบบการปกครองของประเทศฝรั่งเศส โดยยึดระบบสองสภา (Bicamérisme) ซึ่งประกอบไปด้วย

สภาสูง (Chambre haute) หรือเรียกว่า วุฒิสภา (Sénat) ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้แทนท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม

สภาล่าง (Chambre basse) หรือเรียกว่า สภาผู้แทนราษฎร (Assemblée nationale française) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน 

โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งคือชาวฝรั่งเศสทั้งหญิงและชาย มีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามที่กฎหมายกำหนด

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (Conditions de candidature et d'éligibilité) มีดังนี้

1. คุณสมบัติ (Eligibilité) 
บุคคล สัญชาติฝรั่งเศสทั้งเพศหญิงและชายมีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้ง นอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว ยังต้องไม่เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือมีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

2. ลักษณะต้องห้าม (Inéligibilité)

2.1 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับลักษณะบุคคล
• อยู่ภายใต้ความคุ้มครอง การควบคุมในทางปกครอง 
• ต้องโทษมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง 
• ถูกประกาศให้เป็นบุคคลล้มละลาย ถูกห้ามมิให้บริหารงานรัฐวิสาหกิจ หรือต้องสะสางบัญชีทรัพย์สินตามคำสั่งศาล 
• ไม่ได้เข้ารับการเกณฑ์ทหารตามกฎหมาย 

2.2 ลักษณะต้องห้ามอันเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ 
ผู้ ดำรงตำแหน่งซึ่งมีผลประโยชน์ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมแก่ผู้สมัคร ไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา กฎหมายได้ระบุถึงตำแหน่งหน้าที่ ขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบ และระยะเวลาการดำรงตำแหน่งอันมีลักษณะต้องห้ามไว้ ดังนี้ 

• เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของสาธารณรัฐในทุกเขตเลือกตั้ง 
• เป็นผู้ว่าการจังหวัดซึ่งดำรงตำแหน่งในเขตเลือกตั้งนั้น หรือได้ปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี 
• ผู้ดำรงตำแหน่งดังต่อไปนี้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในเขตเลือกตั้งนั้นหรือเคยปฏิบัติหน้าที่นั้นเป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน 
• เป็นผู้พิพากษา 
• เป็นเจ้าหน้าที่ทหารที่ทำหน้าที่บังคับบัญชาในเขตนั้น 
• เป็นข้าราชการ ผู้รับผิดชอบด้านงานบริหาร หรือการกำกับดูแลในองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรระดับภาค องค์กรระดับจังหวัดแห่งสาธารณรัฐ

วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Grand jour de France

วันสำคัญของฝรั่งเศส

          แม้ว่าฝรั่งเศสจะเป็นรัฐฆราวาส แต่วันสำคัญต่าง ๆ กลับเกี่ยวข้องกับศาสนาเป็นส่วนใหญ่ อาจด้วยเหตุบังเอิญว่าวันต่าง ๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่ตรงกับวันอาทิตย์ซึ่งถือว่าเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนา คริสต์วันขึ้นปีใหม่ (Jour de l’an) 1 มกราคม วันนักขัตฤกษ์ ตรงกับวันแรกของปีตามตารางปฎิทินสากล ในประเทศฝรั่งเศส

วันขึ้นปีใหม่  
  
          10 มกราคมนี้เริ่มกำหนดใช้ในปี ค.ศ. 1564 และ วันที่ 31 ธันวาคมถือว่าเป็นการฉลองคืนส่งท้ายปีเก่าเพื่อต้อนรับขึ้นวันปีใหม่ด้วย ในวันขึ้นปีใหม่นี้ ถือเป็นโอกาสที่จะให้ของขวัญ (เงิน)กับเด็ก ๆ                                                       
เอพิพานี (Epiphanie)  

          เทศกาลของชาวคริสเตียน ในโบสถ์ละติน เป็นการฉลองการมาเยี่ยม พระเยซูของ Rois mages โดยธรรมเนียม มีการทานขนมหวาน เค้ก (รูปทรงมงกุฎในทางตอนใต้) หรือ กาแลตดูครัว (ทางเหนือของฝรั่งเศส) จัดขึ้นในวันอาทิตย์แรกของเดือนมกราคม 
                                                   
ชองเดอเลอ (Chandeleur)  

          2 กุมภาพันธุ์ วันทางศาสนาของชาวคริสเตียน แรกเริ่มมาจาก เทศกาลแสงไฟ ในปี ค.ศ. 472 เทศกาลนี้ได้กลายเป็นการเฉลิมฉลองการเป็นตัวแทนของ พระเยซูภายในโบสถ์ตาม ธรรมเนียมมีการทำขนมเครป แล้วโยนขึ้นกลับด้านโดยกำเงินไว้ในมือ อีกข้างเพื่อถือเป็นการนำโชคดีมาสู่ ตัวผู้โยน                                                        
มาร์ดี-กรา (Mardi-gras) 
 
           เทศกาลของชาวคาทอลิก เมื่อวันสิ้นสุด 7 วันหลังเทศกาลงานรื่นเริง (ซึ่งผ่านมื้ออาหารกันมาตลอดสัปดาห์) วันนี้กำหนดขึ้น 47 วันก่อนเทศกาลอีสเตอร์ และเป็นการ เริ่มต้นของกาเรม (เทศกาลถือศีลอด) สัญลักษณ์ของเทศกาลนี้คืองานกานาวาล (ซึ่งมีความหมายถึงการเอาเนิ้อออก หรือการเริ่มต้นการถือศีล) ตามธรรมเนียมต้องการให้ชาวบ้านแต่งตัวหลากหลายในวันนั้น (ในทุกวันนี้กลายเป็นเด็ก ๆ ) ในบางหมู่บ้านมีการเผาตุ๊กตากานาวาลในวันงานด้วย 
                                                   
 Mercredi des Cendres 
 
           เทศกาลของชาวคาทอลิก เป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นเทศกาลถือศีลอด เป็นสัญลักษณ์ให้เตือนถึงการตาย อาทิตย์แรกของเทศกาลศีลอด (1er dimanche de Carême) ไม่มีกิจกรรมใด ๆ พิเศษ พฤหัสบดีกลางเทศกาลศีลอด (Jeudi de la Mi-cerême) เป็นสัญลักษณ์ครึ่งนึงของช่วง เทศกาลถือศีลอดที่มี 40 วัน(โดยไม่นับวันอาทิตย์) ตรงกับวันพฤหัสบดีของอาทิตย์ที่ 3 ของตลอดระยะเวลาเทศกาลถือศีล เป็นการพักของช่วงการถือศีล ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยฉลองกันนัก 
                                              
Dimanche des Rameaux

          รำลึกการเดินทางถึงนครเยรูซาเลมของพระเยซู และความรักของ พระเยซุคริสต์และการเสียชีวิตบนไม้กางเขน 

                                    วันอาทิตย์อีสเตอร์ (Dimanche de Pâques) 

           3 วันหลังจากวันสิ้นชีพของพระเยซุ พระเยซูได้ ฟิ้นคืนชีพ เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันสำคัญที่สุดของปฎิทินชาวคริสต์ เป็นสัญลักษณ์ของวันสิ้นสุดของเทศกาลถือศีลอด วันอีสเตอร์สอดคล้องกับวันอาทิตย์แรกต่อจากวันพระจันทร์เต็มดวงในฤดูใบไม้ ผลิ ชาวคริสต์ต้องหยุดงานเพื่อไปสวดมิซซา ในวันนี้พระสันตปะปาจะประทานพรในฝรั่งเศสตามธรรมเนียมทำการมอบไข่ (ช็อกโกแลต) หรือของประดับธรรมเนียมอิ่น ๆเกี่ยวกับอาหาร : ทานแกะ 
                                          
วันจันทร์อีสเตอร์ (Lundi de Pâque)

          ในยุคกลางตลอดสัปดาห์หลังเทศการอีสเตอร์เป็นสัปดาห์นักขัตฤกษ์ ในปัจจุบันเหลือลงเพียงวันจันทร์ และไม่ใช่งานฉลองที่เคยทำอย่างสม่ำเสมอ ในกรณีของฝรั่งเศสไม่มีการฉลองเป็นพิเศษ 
                                              
วันนำสาร (Annonciation) 
 
           25 มีนาคม ตามศาสนาคริสต์ เทวดากาเบรียล นำสารมาบอกมารีถึงการตั้งครรภ์พระเยซู 9 เดือนก่อนวันคริสต์มาสถือได้ว่าเป็นวันจุติของพระเยซู 
                                    
วันรำลึกการถูกคุมตัว(Souvenir déportés)
 
           เป็นวันระลึกถึง 150000 ฝรั่งเศสที่ถูกนำตัวไปเข้าค่ายกักกันของนาซี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 วันรำลึกนี้จัดอยู่ในอาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายนวันรำลึกนี้จัดอยู่ใน อาทิตย์สุดท้ายของเดือนเมษายน 
                                         
 วันแรงงาน ( Fête du travail) 

           1 พฤาภาคม เป็นธรรมเนียมของผู้ใช้แรงงานในการต่อสู้ที่มีอยู่ทั่วโลก ในประเทศส่วนใหญ่จัดเป็นวันหยุดประจำปี ประเทศฝรั่งเศสเริ่มต้นในปี 1919 และในปี 1947 เป็นวันหยุดเต็มวันโดยได้รับค่าแรงด้วย ในวันนี้สหภาพแรงงานต่าง ๆ จะเดินขบวนกันตามเมืองต่าง ๆ ของประเทศ และมีการมอบช่อดอกมูเก้ด้วย 
                                 
  วันกลับคืนสู่สวรรค์ (Jeudi de l’Ascension) 
  
          เป็นการฉลอง 39 วันหลังจากเทศกาลอีสเตอร์ หลังจากลงมาเผยแพร่คำสอน พระเยซุก็ได้เสด็จกลับขึ้นสวรรค์์ 
                                          
วันฉลองชัยชนะ (Victoire 1945) 
 
           ชัยชนะทีมีต่อเยอรมันในยุคการครอบครองโดยทหารนาซี สันติภาพได้กลับคืนสู่ ทวีปยุโรป โดยสัญญาสงบศึกที่ทำขึ้นในวันที 8 พฤษภาคม 1945 เวลาประมาณเที่ยงคืน โดยมีนายพลโซเวียต Jpukov ฝ่ายนาซี Keitel ผู้แทนจากสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และนายพล de Lattre ของฝรั่งเศส เป็นวันนักขัตฤกษ์ตั้งแต่ปี 1953 แต่ได้ถูกยกเลิกไปในสมัย V.Giscard d’Estaing และได้กลับมากำหนดใหม่ในยุคของ F.Mitterrand 1 มิถุนายน 1981 
                              
วันอาทิตย์ปงโตโค๊ต (Dimanche de Pentecôte)

          เป็นวันเทศกาลของชาวคริสต์ กำหนดขึ้น7 อาทิตย์หลังเทศกาลอีสเตอร์ เพื่อรำลึกถึงวิญญาณศักด์สิทธิ์ที่ลงมาจาก... 
                                                 
   ทรินิเต้ (Trinité) 
 
          วันเทศกาลของชาวคริสต์ อาทิตย์ที่ 8 หลังจากเทศกาลอีสเตอร์ ปัจจุบันไม่ค่อยมีการเฉลิมฉลองมากนัก ในศาสนาคริสต์ ทรินิเต้เป็นการกล่าวถึงพระเจ้าใน 3 บุคคล พระบิดา บุตร และพระจิต 
                                                
วันพระเจ้า (Fête Dieu)
 
          ฉลองในวันพฤหัสบดีถัดจากวันทรินิเต้ (หรืออาจวันอาทิตย์ขึ้นอยู่กับทางปฎิบัติ) ฉลองถึงความเสียสละของพระคริสต์ โดยมีการแบ่งขนมปัง 
                                               
วันแม่ (Fête des mères) 

          กำหนดเป็นทางการในปี 1928 กำหนดไว้ในวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือนพฤษภาคม (หรือกรณีพิเศษเลื่อ่นไปในเดือนมิถุนายนหากชนกับปงโดโค๊ต) ในปัจจุบัน กลายเป็นการค้าและเป็นวันที่ชื่นชอบของเด็ก ๆ 
                                               
วันพ่อ (Fête des pères)
 
          เช่นเดียวกับวันแม่ แต่มีกำหนดขึ้นเป็นทางการในปี 1952 
                                              
วันชาติ (Fête Nationale)
 
          รำลึกถึงวันแห่งการปฎิวัติของฝรั่งเศส 1789 โดยเฉพาะการทำลายคุกบาสตีล ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1978 คุกบาสตีลเป็นคุกสำคัญของปารีส และเป็นสัญลักษณ์ของอำนาจกษัตริย์ ในวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 ชาวกรุงปารีสได้ทำการเผาและเข้ายึดคุก การเข้ายึดคุกบาสตีลนี้กลายเป็น สัญลักษณ์ของการก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศส 
                                            
                                             วันอัสสัมซิยง (Assomption) 
         
           15 สิงหาคม วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกที่ทำการฉลองในการที่พระแม่มารีขึ้นสู่สรวงสวรรค์ เป็นวันสำคัญกลางฤดูร้อนมีการ........ 
                                                 
 Croix glorieuse
 
           14 กันยายน กำหนดโดยจักรพรรคดิ์กองสตองแตง ในปี ค.ศ. 335 ในปัจจุบันมีการฉลองในวันนี้ไม่มากนัก 
                                              
  ตุสแซง (Toussaint) 
 
           1 พฤศจิกายน วันทางศาสนาของชาวคาทอลิก ในการเฉลิมฉลองให้กับทุกนักบุญโดยโบสถ์โรมัน ในวันนี้ได้กลายเป็นวันเยี่ยมหลุมฝังศพ เพือ่วางดอกไม้กับผู้เสียชีวิตไปแล้ว และดอกคริสซองแตม 
                                                   เดฟัน (Défunts)
 
           2 พฤศจิกายน ในฝรั่งเศสรวมกันกับวันหยุดตุสแซง วันสิ้นสุดสงคราวโลกครั้งที่ 1 (Armistice 1918) 11 พฤศจิกายน 1918 รำลึกถึงการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยมีการเซ็นสัญญายุติสงครามมที่ Rethondes ป่า Compiège (Oise) 
                                                     
 Christ Roi 
 
           วันทางศาสนาของชาวคาทอลิกอาทิตย์สุดท้ายของปี 5 อาทิตย์ก่อนคริสต์มาส Avent ช่วงเวลาหลังจากคริสต์มาส ระหว่าง 3-4 สัปดาห์ 
                                                  
 คริสต์มาส (Noël) 
 
           เป็นเทศกาลการเกิดของพระเยซูคริสต์ มีการกำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 354 โดยสันตปะปา Libère มีการประดับตกแต่งในวันที่ 24 ธันวาคมตอนเย็น ด้วยต้นสน คอกเด็ก ของขวัญ และทานอาหรระหว่างครอบครัว เทศกาลนี้ยังกลายเป็นสัญสักษณ์การทำค้าขาย อย่างมหาศาล 
                                            
วันครอบครัว (Saint famille)
 
           ต่อจากคริสต์มาส (อาทิตย์หรือศุกร์ถัดไปหากวันคริสต์มาส ตรงกับวันอาทิตย์)เป็นการสร้างครอบครัวโดยเยซูและมีบุพการีคือ มารีและโยเซพ

วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Le championnat de France de football masculin


  

     Le championnat de France de football masculin, dénommé « Ligue 1 » (L1), est une compétition de football qui représente en France le sommet de la hiérarchie du football. La compétition se déroule annuellement sous forme d'un championnat mettant aux prises vingt clubs professionnels. Une saison du championnat commence en été et se termine au printemps suivant. La première journée de l'édition inaugurale se tient le 11 septembre 1932. Nommé « Division Nationale » lors de la saison 1932-1933, le championnat prend le nom de « Division 1 » (D1) en 1933, avant de prendre son nom actuel à l'été 2002.

     L'AS Saint-Étienne est le club le plus couronné avec dix titres de champion de France alors que l'Olympique lyonnais est le club qui a remporté le plus de titres consécutifs (7 entre 2002 et 2008). Le Paris Saint-Germain est le tenant du titre de la saison 2012-2013.

     Avec 66 saisons de présence en Ligue 1, le Football Club Sochaux-Montbéliard détient le record du nombre de saisons parmi l'élite, alors que le Football Club de Nantes détient quant à lui le record de longévité en Ligue 1 avec 44 saisons consécutives (de 1963 à 2007). Le Paris Saint-Germain est actuellement le doyen de la Ligue 1 puisqu'il y est présent depuis 1974 (soit sa40e année consécutive en 2013-2014).

วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Saison en France

ฤดูกาลในฝรั่งเศส

          
          ฝรั่งเศสเป็นประเทศหนาวในปีหนึ่งแบ่งออกเป็น 4 ฤดู แต่ละฤดูจะกินเวลา 3 เดือน วันเดือนที่กำหนดว่าเป็นวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของแต่ละฤดู นั้นจริง ๆแล้วไม่ได้หมายความว่าอากาศจะต้องเปลี่ยนแปลงอย่างนั้นจริง ๆวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิบางปีในบางท้องถิ่นอากาศจะหนาวมากกว่าฤดูหนาวในบางถิ่น ฤดูทั้ง 4 ของฝรั่งเศสมีดังนี้คือ


          1. ฤดูใบไม้ผลิ ( le  printemps ) ฤดูใบไม้ผลิเริ่มวันที่ 21 มีนาคม สิ้นสุดวันที่
21 มิถุนายน  ในฤดูนี้อากาศจะอบอุ่นขึ้น  ต้นไม้ที่โกร๋นปราศจากใบมาตลอด เวลา 3 เดือนในฤดูหนาวที่หนาวเย็นจะเริ่มผลิใบ การเปลี่ยนแปลงนี้รวดเร็วมาก ในเวลาไม่กี่วันหลังอากาศอบอุ่นต้นไม้จะผลิใบ เขียวชอุ่ม  ปลายเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนอากาศจะไม่แน่นอน  ในช่วงนี้จึง ยังคงเก็บเสื้อโค้ตไม่ได้เพราะอากาศจะหนาวเมื่อไรก็ได้   บางทีอาจจะมีฝนตกบ้าง   อากาศจะดีจริง ๆ  ในเดือนพฤษภาคม   ฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูที่สวยงาม   ฟ้าจะเป็นสีฟ้าใส  พระอาทิตย์ซึ่งไม่เคยปรากฏในฤดูหนาวเริ่มส่องแสง  ฤดูนี้ ได้ชื่อว่าเป็นฤดูแห่งดอกไม้แห่งงานฉลองแห่งความรัก  ( la saison  des  fleurs, des  fêtes,  des amours ) มีงานฉลองมากมาย เช่น พิธีรับศีลจุ่ม  พิธีแต่งงาน  ฯลฯ  สำหรับนักเรียนนักศึกษา  เดือนอากาศดีนี้หมายถึงการสอบปลายปี ด้วย แม้ว่าฤดูใบไม้ผลิจะเป็นฤดูที่ทุกคนคิดว่าเป็นฤดูที่สวย งาม อากาศดี แต่ก็เป็นฤดูที่อากาศไม่แน่นอน  อากาศจะเปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาด หมาย imprévisible ก็ได้แต่ฤดูใบไม้ผลิก็นับว่าเป็นฤดูที่ดีที่สุดฤดูหนึ่งของปี


           2.ฤดูร้อน  ( l’été ) เริ่มวันที่  22  มิถุนายน  สิ้นสุดวันที่  22 กันยายน ฤดูร้อนเป็นฤดูที่กลางวันยาวมาก   เมื่อกลางวันยาว   กลางคืนก็สั้นประมาณ  6 – 7 ชั่วโมง  กลางวันยาวในที่นี้หมายความว่าพระอาทิตย์ตกดินช้า  สามทุ่ม หรือสี่ทุ่มยังไม่มืด  เมื่อไม่มืดก็มีความรู้สึกว่ายังไม่ถึงกลางคืน   ในประเทศสแกนดิเนเวียนนั้นในฤดูร้อน  กว่าพระอาทิตย์ตกดินหรือจะมืดก็ประมาณ ห้าทุ่มหรือเที่ยงคืน   กลางคืนจะยาวประมาณ  6 – 7 ชั่วโมง ฤดูร้อนในฝรั่งเศสอากาศร้อนผู้คนจึงไปชายทะเล  ฤดูร้อนเป็นฤดู แห่งวันหยุดผู้คนเฝ้ารอฤดูนี้เพื่อจะได้ไปเที่ยวทะเล  เพื่อจะได้อาบ แดด  เพื่อจะได้รับประทานผลไม้สด ๆ เช่น  สตรอเบอรี่   แต่ในฤดูร้อนผลไม้ยังไม่อร่อย   ต้องรอให้ผลไม้สุกเสียก่อน   ฤดูร้อนบางปีอากาศอาจจะไม่ดีฝนตกบ่อย ๆ  ฤดูร้อนที่อากาศไม่ดีเรียกว่า   été pourri   ความหมายก็บอกว่าไม่เพลิดเพลิน เป็น  “ฤดูร้อนที่เน่าเสีย” คาดว่า   “été  canicule”  หมายถึงช่วงต้นฤดูร้อนที่อากาศร้อนมาก   บางเมืองอากาศจะร้อนมาก  อุณหภูมิที่สูงสุดในฤดูร้อนในฝรั่งเศสประมาณ  30 องศาเซลเซียส  ซึ่งร้อนมากสำหรับประเทศหนาว  ทำให้คนอยากไป   vacances  โดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมืองใหญ่อย่างปารีส



          3.  ฤดูใบไม้ร่วง ( l’automne ) ฤดูใบไม้ร่วงเริ่มต้นวันที่  23  กันยายน สิ้นสุดวันที่  21   ธันวาคม   อากาศที่สดใส   แดดจ้าในฤดูร้อนเริ่มเปลี่ยน   ท้องฟ้าสีเทา  ลมแรง ใบไม้เริ่มเปลี่ยนจากสีเขียวมาเป็นสีเหลือง   กลางวันสั้นมากขึ้นกลางคืนยาวขึ้นใบไม้สีเหลือง แห้งและร่วง  ฤดูใบไม้ร่วงก็เหมือนฤดูอื่น ๆ  คือ อาจจะเป็นฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศดีหรือฤดูใบไม้ร่วงที่อากาศไม่ดี คือ ฝนอาจจะตกบ่อยตอนต้นฤดูอากาศมักจะดีตอนปลายฤดูคือ เดือนพฤศจิกายนอากาศจะไม่ดีท้องฟ้าเป็นสีเทาและมืดครึ้มตอนที่ใบไม้ร่วง ต้นไม้โกร๋นเป็นตอนที่เศร้าแต่ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สวยฤดูหนึ่ง   เพราะใบไม้ที่เปลี่ยนสีทำให้ฟ้าสวยงามหาที่เปรียบไม่ได้ ป่าไม้ในฤดูใบไม้ร่วง ( ตอนต้นและตอนกลางฤดู )จะใช้คำขยายว่า  coloré ซึ่งหมายถึงระบายด้วยสีประดับด้วยสี ( อันสวยงาม ) “ศิลปินมักจะให้ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่สวยที่สุด เนื่องจากสีใบไม้ที่เปลี่ยนสีแตกต่างกันมากมายหลายสีซึ่งธรรมชาติเท่านั้นจะทำได้  ทางใต้ของฝรั่งเศสอากาศจะไม่หนาวแต่มีลมแรง ( mistral )  ทางใต้จึงปลูกต้นไม้ที่สู้ลมได้   เช่น  ต้นมะกอก  ( olivier ) ต้นโอ๊ค ( chêne  vert )  และต้นไม้ที่มีรากยาว ๆ  เช่น องุ่น  ฤดูใบไม้ร่วงเป็นฤดูที่ดีที่สุดของคนบางกลุ่ม  คนฝรั่งเศสจำนวนหนึ่งที่ชอบล่าสัตว์จะถือปืนออกล่าสัตว์  ฤดูนี้เป็นช่วงที่คนในประเทศหนาวสามารถอยู่กลางแจ้งได้ก่อนที่ความหนาวจะ คลืบคลานเข้ามาถึง



          4. ฤดูหนาว ( l’hiver ) เริ่มวันที่  22  ธันวาคม สิ้นสุดวันที่  20  มีนาคมปลายฤดูใบไม้ร่วง   กลางวันสั้นมากขึ้น   ท้องฟ้ามืดครึ้ม   ฤดูหนาวในประเทศหนาวหรือประเทศฝรั่งเศสคือ  ความหนาว   ฝนและหิมะ   แต่ฤดูหนาวก็เหมือนฤดูอื่น ๆ  คือ เป็นฤดูที่คนบางกลุ่มเฝ้ารอ   นั่นคือผู้ที่ชอบกีฬาฤดูหนาวและผู้ทำธุรกิจเกี่ยวกับกีฬาฤดูหนาวเมืองที่อยู่บริเวณภูเขาและเป็นสถานีสกี ( Stations  de  ski ) จะคึกคักและมีชีวิตชีวาฤดูหนาวเป็นฤดูแห่ง   “sports  d’hiver” ครอบครัวหรือโรงเรียนจะพาลูก ๆ  และเด็ก ๆ  ไปเล่นสกีบนภูเขาในช่วง   vacances  de  neige   ผู้เดินทางในการขับรถที่อยู่ในเขตภูเขาที่มีหิมะตกจะต้องมี   pneus  à  clous  หรือ roués  avec  chaine ซึ่งเป็นยางรถที่ใช้บนถนนที่ลื่นด้วย  vergla  ( ฝนปนหิมะ ) gel  ( น้ำที่แข็งตัว ) และ dégel  ( น้ำแข็งที่ละลายแล้ว )   นอกจากเจ้าของรถจะต้องเตรียมรถของตนให้พร้อมที่จะแล่นไปบนถนนที่อันตราย แล้วทางราชการก็เตรียม  chasse – neiges ( รถกวาดหิมะ ) เพื่อเปิดทางหากหิมะตกมาก ๆ  บนทางหลวงก็จะมีกระสอบทรายและกระสอบเกลือวางไว้ประจำฤดูหนาวเป็นฤดูแห่งงานฉลองจะเห็นว่ามีเทศกาลหลายเทศกาลในฤดูนี้ เช่น   Fête  de  Saint – Nicolas, Noël,  Nouvel  An,  Fête  des  Rois, Carnavalนอกจากจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีอากาศปานกลาง  ( le  climat  doux   et   tempéré ) ของยุโรปแล้วอากาศในฝรั่งเศสยังแตกต่างกันตามลักษณะภูมิประเทศ   และลักษณะที่เด่นคือ ความไม่แน่นอน อากาศแต่ละฤดูไม่เหมือนกัน และฤดูเดียวกันในแต่ละปีก็ไม่เหมือนกัน

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Robert II of France

Robert II of France 

 

 

      obert II de France, surnommé « Robert le Pieux » est né à Orléans vers 9721 et est mort au château de Melun le 20 juillet 1031. Fils d’Hugues Capet et de son épouse Adélaïde d'Aquitaine, il est le deuxième roi franc de la dynastie capétienne. Il règne de 996 à 1031 et est ainsi l'un des souverains de l’an mil.

Associé dès 987 à la royauté, il assiste son père sur les questions militaires (avec le siège par deux fois, en 988 et 991 de Laon). Sa solide instruction, assurée par Gerbert d'Aurillac à Reims, lui permet de s’occuper des questions religieuses dont il devient rapidement le garant (il dirige le concile de Verzy en991 et celui de Chelles en 994). Poursuivant l’œuvre politique de son père, après996, il parvient à maintenir l’alliance avec la Normandie et l’Anjou et à contenir les ambitions d'Eudes II de Blois.

Au prix d’une longue lutte débutée en avril 1003, il conquiert le duché de Bourgogne qui aurait dû lui revenir en héritage à la mort, sans descendance directe, de son oncle Henri Ier de Bourgogne, mais que ce dernier avait transmis à son beau-fils Otte-Guillaume.

Les déboires conjugaux de Robert le Pieux avec Rozala d'Italie et Berthe de Bourgogne (qui lui valent une menace d’excommunication), puis la mauvaise réputation de Constance d'Arles, contrastent étrangement avec l’aura pieuse, à la limite de la sainteté, que veut bien lui prêter son biographe Helgaud de Fleurydans la Vie du roi Robert le Pieux (Epitoma vitae regis Roberti pii). Sa vie est alors présentée comme un modèle à suivre, faite d’innombrables donations pieuses à divers établissements religieux, de charité envers les pauvres et surtout de gestes considérés comme sacrés, telle que la guérison de certains lépreux : Robert est le premier souverain considéré comme thaumaturge. La fin de son règne révèle la relative faiblesse du souverain qui doit faire face à la révolte de son épouse Constance d'Arles puis de ses propres fils (Henri et Robert) entre1025 et 1031.

วันจันทร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Château Breisach

ปราสาทบรีซัค



            ตามประสาของปราสาทในฝรั่งเศสที่ต้องตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงามตามแต่ใจตัวเอง ปราสาท บรีซัค (Brissac) กลางหุบเขาลัวร์ขนาด 7 ชั้น มีห้องมากกว่า 200 ห้อง เพดานทาด้วยทองคำ ม่านลายดอกประดับผนังและพรมลายดอกไม้เข้าชุดกันชนิดผู้มีโอกาสมาเยือนแทบลืมหายใจ เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลัก เสาปราสาททำจากแก้วคริสตัล ไม่ใช่สถานที่ที่แย่เกินไปที่จะอยู่อาศัย ยกเว้นความจริงที่ว่าคุณจะต้องอยู่กับวิญญาณของ ชาร์ลอต (มาดามของจาร์ค เดอ บรีซ)และชายชู้ของเธอ ทั้งคู่ถูกสังหารที่นี่ หลังจากทั้งคู่ถูกปลิดชีวิต บรีซก็ต้องบอกขายปราสาทในเวลาไล่เลี่ยกัน เพราะไม่สามารถทนกับเสียงร้องโหยหวนกลางดึกของผีชู้รักคู่นี้ได้

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

Kit de Méditerranée

เมดิเตอร์เรเนียนกิช


กิช (ฝรั่งเศสquicheสัท./kiʃ/) เป็นอาหารจานอบชนิดหนึ่งโดยมีส่วนประกอบหลักคือ ไข่ นม หรือ ครีม ถึงแม้ว่ากิชจะมีลักษณะคล้ายพายแต่กิชถูกจัดเป็นอาหารคาว โดยในกิชอาจมีส่วนประกอบอื่นเช่น เนื้อสัตว์ ผัก เนยแข็ง ได้
ถึงแม้ว่ากิชจะมีส่วนประกอบหลายอย่างคล้ายอาหารประเภทพาสตา แต่ไม่ถูกจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งของพาสตา